แคลเซียม-อีดีทีเอ

     ขณะนี้มีแพทย์หลายท่านเริ่มใช้ Ca-EDTA แทน Mg(II)-EDTA ในการบำบัดด้วยยาฉีด (IV Therapy) ซึ่งเป็นกระบวนการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยใช้เวลา 45-60 นาที    วิธีนี้สะดวกสำหรับผู้ป่วยทั้งในด้านของเวลาที่ประหยัดและ        ดึงดูดผู้ป่วยที่ไม่ว่าง   อีกทั้งยังปรากฏว่าสามารถใช้แทนการหยด Mg(II)-EDTA ทางเส้นเลือด 3 ชั่วโมงได้อย่างเต็มที่    การทำเช่นนี้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ EDTA ถูกค้นพบเพื่อรักษาโรคหัวใจ
         ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 นายแพทย์ นอร์แมน คลาร์ก (พ.บ.) เมืองดีทรอยต์ ได้รักษากลุ่มผู้ป่วยจากพิษตะกั่วในอุตสาหกรรมรถยนต์ มักได้ยินคำพูดบ่อยๆว่า "ว้าว หมอ อาการเจ็บหน้าอกของผมดีขึ้นเลย" จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า Ca-EDTA มีผลทำให้อาการเจ็บหน้าอกบรรเทาลง    เราเคยเชื่อว่าผลนี้ถูกควบคุมด้วยการกำจัดแคลเซียม แต่เมื่อมีการรวบรวมประสบการณ์จึงเริ่มเห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่วิธีการทำงานที่เกิดขึ้น    การไหลเวียนของเลือดและการหล่อเลี้ยงออกซิเจนนั้นดีขึ้นด้วยการใช้ EDTA อย่างแน่นอน และสิ่งที่ทราบเพิ่มเติมคือเส้นเลือดแดงที่เล็กที่สุด (ขนาดจุลทรรศน์) หรือที่เรียกว่า เส้นเลือดแดงฝอย ได้ขยายและช่วยให้เลือดไหลผ่านพลัคที่สะสม มีความเป็นไปได้ที่ผลลัพธ์นี้เกิดจากการกำจัดโลหะหนักจากผนังชั้นในของหลอดเลือดเพื่อให้หลอดเลือดคลายและขยายตัว
 

คีเลชั่นบำบัด (การฉีดเข้าเส้นเลือดด้วย EDTA)

       คีเลชั่นเป็นปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลให้เกิดพันธะระหว่างอิออนโลหะและโมเลกุลอินทรีย์ สารประกอบเชิงซ้อนที่เป็นโลหะจับตัวกับโมเลกุลถูกเรียกว่า "คีเลต" ประกอบด้วยวงแหวนอะตอม 1 วงหรือมากกว่านั้นซึ่งอิออนโลหะจะจับตัวกันแน่นจนไม่สามารถหลุดจากกันได้    ลักษณะนี้จึงเปรียบการลำเลียงของ อิออนโลหะเหมือนกับนักโทษที่ถูกใส่กุญแจมือก่อนถูกนำตัวไปที่อื่นๆ
       ดังที่ปรากฏเกี่ยวกับความชราและโรค ความสามารถของเซลล์ในการย้ายอิออนโลหะและแร่ธาตุในระบบและกำจัด      อิออนเหล่านั้นเมื่อมีมากเกินไปจนกลายเป็นความบกพร่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียมที่มีหน้าที่สำคัญในร่างกายมนุษย์    อย่างไรก็ตาม  เมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น แคลเซียมจะเพิ่มขึ้นในเนื้อเยื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดนำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Arteriosclerosis) 
 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Atherosclerosis) และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Arteriosclerosis) 

 
         โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดที่พบบ่อย 2 ชนิด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เราจะพิจารณาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อน    โรคนี้เป็นลักษณะของการสะสมพลัคภายในระบบโลหิตที่มีสาเหตุแตกต่างกันมากกว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็งที่มีสาเหตุจากการแข็งตัวที่กระจายตัวของเส้นเลือดแดง
 
         ทราบกันดีว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัว (ซึ่งอยู่ในรูปแบบ "อาหารขยะ")
  • คลอเรสเตอรอลที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (จากการทำอาหาร เช่น นมพาสเจอไรซ์ และเนื้อสัตว์ที่ถูกปรุงในที่แจ้ง)
  • การขาดสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ ซี และ อี
  • ระดับโฮโมซีสเตอีนสูง (สามารถป้องกันได้ง่ายด้วยวิตามินบี6 และ บี12)
  • ควันจากบุหรี่ส่งผลให้ทรัพยากรของสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกายหมดไป โดยเฉพาะวิตามินซี และเร่งให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
         ส่วนโรคหลอดเลือดแดงแข็งนั้น แคลเซียมถูกสร้างมากขึ้นและมีความเข้มข้นภายในผนังหลอดเลือดมากกว่าปกติ    ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคหลอดเลือดแดงแข็งมีผลมาจากแคลเซียมเหมือนกัน ความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญแคลเซียมในร่างกายทั้งหมดเปรียบเหมือนกับความชราที่ค่อยๆดำเนินต่อไป
 
         การส่งออกซิเจนไปสู่เซลล์นั้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการเปรียบเทียบระบบไหลเวียนกับท่อต่างๆ   เส้นเลือดเป็นอวัยวะที่มีชีวิตไม่ใช่ท่อ แม้ว่าออกซิเจนจะถูกส่งผ่านไปที่เซลล์แล้วแต่ยังคงมีเรื่องของประสิทธิภาพในการใช้อยู่    ผลปรากฏว่า EDTA จัดการกับระดับเหล่านี้ได้ ต่อไปนี้คือผลของ EDTA ที่แสดงให้เห็นการรักษาโรคเสื่อมต่างๆ
  • EDTA ช่วยลดระดับแคลเซียมในเลือด จึงกระตุ้นการผลิตพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์    พาราไทรอยด์ฮอร์โมนช่วยในการกำจัดแคลเซียมจากตำแหน่งที่ผิดปกติ (เช่น เส้นเลือดแดง) และสะสมแคลเซียมในตำแหน่งที่ควรมี (เช่น กระดูก) ซึ่ง EDTA ช่วยเสริมแคลเซียมให้กับโรคกระดูกพรุนอย่างเห็นได้ชัด
  • EDTA กระตุ้นการขยายตัวของเส้นเลือดขนาดเล็กเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของการไหลเวียนที่ถูกปิดกั้น ทำให้จุดที่ตีบนั้นดีขึ้น
  • EDTA ควบคุมความเสียหายของอนุมูลอิสระจากปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชั่นไขมันโดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่ง
  • EDTA กำจัดอิออนโลหะที่อยู่ตำแหน่งที่ผิดปกติ เช่น โลหะหนักที่เป็นพิษเช่นเดียว        กันกับทองแดงและธาตุเหล็กที่สะสมเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นข้อดีหลักของ EDTA การขจัดพิษจากโลหะหนักที่ระดับของเยื่อเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดที่เล็กและตีบนั้นสามารถขยายไปถึงขนาดปกติ (บางคนอาจเรียกว่า "ก่อนเข้าอุตสาหกรรม") ซึ่งจะช่วยให้การไหลของเลือดและการหล่อเลี้ยงด้วยออกซิเจนดีขึ้น
  • EDTA กำจัดตะกั่ว แคดเมียม อะลูมินัม ปรอท สารหนู และโลหะหนักที่เป็นพิษอื่นๆ และฟื้นฟูระบบเอนไซม์ไปสู่การทำงานที่เหมาะสม
  • EDTA ช่วยสนับสนุนความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อไมโทคอนเดรีย
  • EDTA ช่วยสร้างความสมดุลของฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน ซึ่งฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างการหดตัวและคลายตัวของผนังเส้นเลือดแดง รวมถึงระหว่างการแข็งตัวและการไหลอย่างอิสระของเลือด โพรสตาแกลนดินถูกผลิตจากกรดไขมัน ดังนั้นปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชั่นไขมันจึงทำให้เสียความสมดุลของฮอร์โมนที่จำเป็น EDTA จึงเข้าไปคอยจับ (คีเลต) โคเอ็นไซม์โลหะที่เร่งปฏิกิริยา ส่งผลให้ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชั่นไขมัน ซึ่งทำหน้าที่เดียวกันกับสารต้านอนุมูลอิสระ
  • EDTA ช่วยลดแนวโน้มการแข็งตัวฉับพลันของเกล็ดเลือด ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่จะอุดหลอดเลือดหัวใจเมื่อเกิดอาการหัวใจวาย
  • EDTA เพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อโดยการปลดการเชื่อมโยงที่เกี่ยวกับอายุที่ทำหน้าที่ดูแลความตึงของผิวและริ้วรอย

ข้อมูลจากสมาคมเยอรมัน - ฝรั่งเศสเพื่อไทมัสบำบัด