มหัศจรรย์แห่งสมอง
การทำให้สมอง 2 ซีก ทำงานอย่างสมดุลกัน
ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น การใช้สมองซีกซ้ายเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว หน้าที่การงานในอนาคต ต้องการความคิด และการลงมือทำอย่างสร้างสรรค์ เหมือนมีญาณหยั่งรู้ คนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องสามารถเรียนรู้วิธีที่จะรวบรวมความสามารถของสมอง 2 ซีกให้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ร่วมกัน
สมองแต่ละซีกของเราได้ถูกออกแบบมาสำหรับหน้าที่และความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน นั่นคือสมองจะหลีกเลี่ยงการทำหน้าที่ที่ซ้ำกัน สมองทั้ง 2 ซีกต่างก็ทำงานร่วมกันเสมอ ทุกอย่างที่เราทำ ล้วนเกิดจากการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก อย่างไรก็ตาม มันมีแนวโน้มที่สมองซีกใดซีกหนึ่งจะทำงานโดดเด่นกว่า ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของเราต่อประสบการณ์ และสถานการณ์ใหม่ๆ ปัจจุบัน เรามีความรู้ว่าเราใช้สมองของเราอย่างไร ดังนั้น เราควรจะมาเรียนรู้กันว่า วิธีไหนที่จะทำให้เราใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
หากคุณโตมากับระบบโรงเรียนรัฐบาล เหมือนกับพวกเราส่วนใหญ่ แน่นอนว่าโอกาสสูงที่สมองซีกซ้ายจะได้ใช้งานมากกว่าสมองซีกขวาที่โดดเด่นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เพราะระบบโรงเรียนของรัฐ สอนนักเรียนให้จบออกมาเพื่อให้มีงานทำ เด็กๆถูกสอนให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง และทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นประจำ เด็กๆไม่ได้ถูกสอนให้มีความคิดเป็นของตนเอง
"IQ กับ Intelligence (สติปัญญา): อันไหนสำคัญกว่ากัน
มี 3 เหตุผลหลัก ที่กล่าวได้ว่า สติปัญญาโดยรวมของคุณสำคัญมากกว่า ไอคิว
"มันไม่แปลกที่จะพบคน IQ สูง แต่ล้มเหลวในชีวิต ในขณะที่คน IQ ปานกลาง ประสบความสำเร็จ" Deane Alban |
"สติปัญญา (intelligence) มี 2 ชนิด : crystallized intelligence และ fluid intelligence.
Crystallized intelligence คือ ความสามารถในการใช้ข้อมูล, ความชำนาญ และประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้มาแล้ว โดยนำข้อมูลที่มีอยู่ในสมองมาปรับใช้ พูดง่ายๆคือ ความรู้ที่อยู่ในสมอง สติปัญญาชนิดนี้ มักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ และมักถูกให้ความสำคัญมากในวัฒนธรรมตะวันตก (เนื่องจากมันสามารถทดสอบได้ผ่านทางบททดสอบมาตรฐาน)
Fluid intelligence ในทางตรงกันข้าม คือ ความสามารถในการคิดนอกกรอบ การแก้ปัญหา คิดอย่างมีเหตุผลในสถานการณ์ใหม่ๆ การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ สามารถแก้ปัญหาได้แม้ว่าจะมีพื้นฐานข้อมูลของสิ่งนั้นเล็กน้อย หรือ ไม่มีเลย เป็นสติปัญญาที่ขึ้นกับความสามารถในเชิงสร้างสรรค์ และการมองการณ์ไกล
การเพิ่มสติปัญญาชนิด crystallized ทำได้ง่าย เช่น การอ่านหนังสือ, ฟัง podcasts, การเรียน แต่ fluid intelligence ไม่ได้ง่ายอย่างนั้น มันไม่เกี่ยวกับความจริง หรือตัวเลข มันเกี่ยวกับความสามารถของคุณในการทำอะไรกับสิ่งที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน
"หากคุณเอาแต่คิดในสิ่งที่คุณเคยคิด และทำในสิ่งที่คุณเคยทำงั้นคุณก็คงจะได้แค่ในสิ่งที่คุณเคยได้
If you think what you always think, and do what you always do, then you'll get what you always get..."
Tesla
Corpus callosum เป็นมัดของเส้นใยประสาทที่เชื่อมสมอง 2 ซีกเข้าด้วยกัน ในคนที่ถนัดทั้งมือขวาและมือซ้าย มัดของเส้นใยประสาทนี้จะหนากว่าคนทั่วไป และจากการศึกษาวิจัยพบว่า คนที่ถนัดทั้งมือขวาและมือซ้ายเท่าๆกันนั้น เป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถในการอ่านคน, มองเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกทั้งสองด้าน และจดจำรายละเอียดและเนื่อหาของเรื่องราวได้ดี เป็นคนที่มีการใช้งานสมองทั้ง 2 ซีกอย่างสมดุล ทำให้เป็นคนที่มีความคิดดีกว่าคนทั่วไป
"โดยการฝึกสมองทั้ง 2 ด้าน สังคมควรตั้งหน้าตั้งตาคอยประชากรที่มีความสามารถยอดเยี่ยม ถนัดทั้งมือซ้ายมือขวา และใช้สมองทั้งซีกซ้ายซีกขวา ซึ่งมีศักยภาพทางด้านสุขภาพ, สติปัญญา, หัตถกรรม, การกีฬา, การเรียน, การอุตสาหกรรม และการทหาร... หากจำเป็นต้องทำ มือหนึ่งอาจกำลังเขียนจดหมาย ในขณะที่อีกมือหนึ่งกำลังเล่นเปียโน โดยที่สมาธิไม่ลดลงเลยก็เป็นได้" John Jackson
โดยทั่วไป สมองซีกซ้ายและซีกขวา จะประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกัน คนเรามักจะประมวลผลข้อมูลโดยใช้สมองซีกที่ทำงานโดดเด่นกว่า แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการเรียนรู้และความคิด จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อสมองทั้ง 2 ซีกทำงานร่วมกันอย่างสมดุล ซึ่งก็คือ การฝึกสมองซีกที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน ให้ทำงานมากขึ้น
สมองซีกซ้าย จะประมวลผลข้อมูลในแนวราบ โดยประมวลผลจากส่วนเล็กๆ ไปจนครบทุกส่วน ค่อยๆประกอบชิ้นส่วนทีละชิ้น จัดเรียงกันในรูปแบบที่เป็นระเบียบ ตามหลักเหตุผล แล้วทำการสรุปผล สมองซีกขวา จะประมวลผลจากภาพรวม มาหาส่วนย่อย ด้วยวิธีดูองค์รวม โดยเริ่มจากคำตอบ โดยมองภาพรวมก่อน ไม่ใช่รายละเอียด หากคุณเป็นคนใช้สมองซีกขวา คุณอาจจะเรียนหนังสือไม่ค่อยเข้าใจ หากไม่ได้รับการบอกถึงภาพรวมก่อน |
สมองซีกขวา |
สมองซีกซ้าย |
•คิดเป็นภาพ, เน้นข้อมูลที่เป็นรูปภาพ และรูปแบบ |
•คิดเป็นคำพูด, เน้นข้อมูลที่เป็นคำพูด ภาษา สัญลักษณ์ ตัวเลข |
•ทำตามสัญชาติญาณ หรือความหยั่งรู้ที่นำโดยอารมณ์ |
•วิเคราะห์ ตามหลักตรรกกะ เหตุผล |
•ประมวลผลข้อมูลพร้อมๆกัน |
•ประมวลผลข้อมูลทีละขั้นตอน ตามลำดับ |
•'ใช้การคิดเป็นภาพ' เพื่อจดจำสิ่งของ, การจดโน้ต หรือการวาดภาพช่วยให้คุณจำได้ |
•ใช้คำพูดหรือภาษาในการจดจำสิ่งต่างๆ, จำชื่อคนได้ดีกว่าจำหน้า |
•ใช้การเชื่อมโยงในการหาคำตอบจากข้อมูล |
•ใช้การตัดออก ในการหาคำตอบจากข้อมูล |
•มองภาพรวมก่อน แล้วค่อยดูรายละเอียด |
•เริ่มจากจุดเริ่มต้นทีละขั้นตอน จนไปสู่ผลลัพธ์ โดยเน้นที่รายละเอียด ข้อมูลต้องเป็นระเบียบ |
•ขาดการจัดการอย่างเป็นระเบียบ |
•เป็นระเบียบอย่างมาก |
•อิสระทางความคิด |
•ชอบลิสต์รายการ และวางแผน |
•ชอบคิดหาเหตุผลว่า ทำไมต้องทำสิ่งนี้ๆ หรือทำไมต้องมีกฏอย่างนี้ๆ |
•มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามกฏโดยที่ไม่ข้องใจสงสัย |
•ไม่สนใจเรื่องเวลา |
•เก่งในเรื่องการจัดการควบคุมเวลา |
•อาจมีปัญหาเรื่องการสะกดคำ และหาคำพูดที่จะพูด |
•การสะกดคำ และสูตรทางคณิตศาสตร์ จำได้อย่างง่ายดาย |
•ชอบหยิบจับ สัมผัสสิ่งของ (ชอบให้มีสิ่งเร้า) |
•ชอบสังเกตุการณ์อยู่เฉยๆ |
•มีปัญหาเรื่องการจัดลำดับความสำคัญ เลยมักจะมาสายเวลานัด เป็นคนบุ่มบ่าม |
•แพลนล่วงหน้าเสมอ |
•มักไม่ค่อยอ่านคู่มือการใช้งาน เวลาลองสิ่งของ |
•มักอ่านคู่มือการใช้งานก่อน เวลาลองสิ่งของ |
•มักฟังว่า คนพูดถึงสิ่งๆนั้นอย่างไร |
•มักฟังว่า คนพูดถึงสิ่งๆนั้นว่า อะไร |
•ออกมือออกไม้ แสดงท่าทางในการพูด |
•ไม่ค่อยแสดงท่าทางในการพูด |
•มักจะคิดว่าตนเองเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ แต่จำเป็นจะต้องเอาตัวเองมาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาศักยภาพของตน |
•มักเชื่อว่าตนเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ จึงต้องพยายามมากขึ้น และต้อมพร้อมรับความเสี่ยงเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง |
ความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทต่างๆ รวมทั้งออติซึม (autism), โรคสมาธิสั้น (attention-deficit hyperactivity disorder - ADHD), ภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ (dyslexia) และความจำบกพร่อง (cognitive impairments) ต่างกำลังเกิดขึ้นกับเด็กทั่วโลก และบางโรคก็พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ
สารเคมีต่างๆที่เกิดจากอุตสาหกรรม มีผลทำลายสมองที่กำลังพัฒนาในเด็ก เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราทราบกันดีว่าเป็นตัวการที่ทำให้อัตราการเกิดโรคเหล่านั้นเพิ่มมากขึ้น (แหล่งที่มา) เมื่อเดือนมิถุนายน 2018 มีการศึกษาวิจัยทั้งหมด 60 การวิจัย ที่พบความสัมพันธ์ระหว่าง ฟลูออไรด์ (fluoride) และสติปัญญามนุษย์ที่ลดลง ( ดูเพิ่มเติม)
ในปี 1973 Banquet ได้แนะนำว่า ในระหว่างการทำสมาธิ สมองทั้ง 2 ซีกดูเหมือนจะมีการทำงานที่เท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองนี้ (จากสมองซีกซ้ายทำงานมาก ไปสู่การทำงานของสมองทั้ง 2 ส่วน) อาจมีผลดีต่อสุขภาพ เพิ่มการทำงานประสานกันระหว่างร่างกาย และจิตใจ และส่งผลให้สุขภาพกาย และสุขภาพจิตโดยรวมดีขึ้น
เนื่องจากกิจกรรมของสมองในด้านความจำลดลง ในขณะที่มีการทำงานของสมองทั้งสองส่วนโดยสมดุลกัน จึงเชื่อว่า ความคิดลบ, ความคิดติเตียนตัวเอง และความวิตกกังวล มีแนวโน้มที่จะลดลง (Carrington, 1977; Sadigh,1991; Schwartz, Davidson, & Goleman, 1978.)