น้ำในเซลล์
"the molecular structure of water is the essence of all life"
Dr. Albert Szent-Gyorgy, Nobel Prize winner
น้ำในเซลล์ เป็นน้ำห่อหุ้มโมเลกุลชีวภาพทุกชนิด รวมทั้งโปรตีนและกรดนิวคลีอิก ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้น หนาแน่นไปด้วยโมเลกุลต่างๆ เช่น โปรตีน, อาร์เอ็นเอ, ไอออน และตัวถูกละลาย (solutes) ชนิดต่างๆ ดังนั้น แรงดันออสโมซิส (osmotic pressure) ภายในเซลล์จึงสูง และมีการทำงานของน้ำภายในเซลล์ต่ำ น้ำในเซลล์จึงจำเป็นต้องแตกต่างจากน้ำนอกเซลล์
Water content (ปริมาณน้ำในร่างกาย)
ปริมาณน้ำในร่างกายคนเราจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล และมักจะค่อยๆลดลงไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อเป็นตัวอ่อนในครรภ์ ร่างกายจะประกอบไปด้วยน้ำกว่า 90% โดยน้ำหนัก ลดเหลือ 74% เมื่อเป็นทารก ลดเหลือ 60% เมื่อเป็นเด็ก ลดเหลือ 59% เมื่อเป็นวัยรุ่น (วัยรุ่นหญิง เหลือ 56%) 59% เมื่อเป็นผู้ใหญ่ (ผู้หญิงเหลือ 50%) และเหลือ 56% (ผู้หญิง 47%) เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป การที่เพศหญิงและเพศชาย เริ่มตั้งแต่วัยรุ่น มีปริมาณน้ำในร่างกายแตกต่างกันก็เพราะ ทั้งสองเพศมีปริมาณไขมันสะสมในร่างกายต่างกัน และการที่ผู้สูงอายุมีปริมาณน้ำลดต่ำลงมากก็เพราะว่า มีไขมันไปสะสมแทนกล้ามเนื้อ น้ำในร่างกายนั้น จะกระจายไปตามระหว่างเซลล์ (intracellular fluid, ICF, น้ำในเซลล์ มีประมาณ 59% ≈ 26 ลิตร ในผู้ชายน้ำหนัก75 กก., ICF มีประมาณ 61% ≈ 19 ลิตร ในผู้หญิงน้ำหนัก 60 กก.) และน้ำนอกเซลล์ - extracellular fluid (ECF มีประมาณ 41% ≈ 18 ลิตร ในผู้ชายน้ำหนัก 75 กก. ซึ่งรวมถึงพลาสมา ≈ 3 ลิตรด้วย, ECF มีประมาณ 12 ลิตร ในผู้หญิงน้ำหนัก 60 กก.) โดยน้ำจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างอิสระ ระหว่าง ICF และ ECF ซึ่งควบคุมโดยแรงดันออสโมติก และแรงดันภายในหลอดเลือด (hydrostatic pressures) โมเลกุลของน้ำ มีค่าครึ่งชีวิตในร่างกายเราประมาณ 9-10 วัน และใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ น้ำในร่างกายจึงจะเปลี่ยนใหม่หมด (ระยะเวลา ขึ้นกับอายุ, เพศ, โครงร่าง และปริมาณน้ำที่ดื่ม ยิ่งดื่มน้ำมากก็ยิ่งมีค่าครึ่งชีวิตสั้น) ไอออนส่วนใหญ่ที่อยู่ใน ICF คือ K+ (โปแตสเซียมไอออน) และโปรตีนที่มีประจุลบ ในขณะที่ใน ECF จะประกอบด้วย Na+ (โซเดียมไอออน) ,Cl- และ bicarbonate
Water Redox processes ปฏิกิริยารีดอกซ์ของน้ำ
ปฏิกิริยาที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ คือ ปฏิกิริยารีดอกซ์ หรือปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน (redox :oxidation-reduction) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขนส่งอีเล็คตรอน
OIL RIG
Oxidation Is Loss of electrons, Reduction Is Gain of electrons
ปฏิกิริยารีดักชันของออกซิเจน และปฏิกิริยาออกซิเดชันของไฮโดรเจน
เมื่อโมเลกุลไฮโดรเจน (H2) ถูกออกซิไดส์โดยโมเลกุลออกซิเจน ได้เป็นน้ำ (H2O) จะเกิดปฏิกิริยา 2 ชนิด คือ การส่งอีเล็คตรอนจากไฮโดรเจนไปที่ออกซิเจน (ปฏิกิริยารีดักชันของออกซิเจน) และการรับอิเล็คตรอนจากไฮโดรเจน ของออกซิเจน (ปฏิกิริยาออกซิเดชันของไฮโดรเจน) ออกซิเจนเป็นสารทำหน้าที่ออกซิไดส์ และไฮโดรเจนเป็นสารทำหน้าที่รีดิวซิ่ง ทั้งโมเลกุลของออกซิเจน และไฮโดรเจนไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยารีดอกซ์ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการเคลื่อนไหวของอีเล็คตรอนจากสารหนึ่งไปอีกสารหนึ่ง ปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดในสารละลายนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในระบบชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ โดยการรวบรวม และการกระจายพลังงาน ให้กับสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการและการซับซ้อนต่ำ
ในปฏิกิริยารีดอกซ์นั้น ความสามารถในการให้ หรือรับอีเล็คตรอน เราเรียกว่าค่า redox potential (Oxidation Reduction Potential - ORP)
ค่า ORP เป็นบวก บ่งบอกถึงความสามารถในการรับอีเล็คตรอน (เรียกสารนั้นว่าเป็น oxidizing agent, oxidant) และหากค่า ORP เป็นลบ บ่งบอกถึงความสามารถในการให้อีเล็คตรอน (เรียกสารนั้นว่าเป็น reducing agent, reductant)