การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม อยู่ได้นานกี่ปี

 

         การผ่าตัดใส่ข้อเทียม  นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ที่มีผลเปลี่ยนแปลงชีวิตคนมากที่สุด      มันหมายถึงการสร้างความแตกต่างระหว่างการเป็นคนพิการจากข้อที่อักเสบ  ไปสู่การเคลื่อนไหวได้เกือบเป็นปกติ ในผู้คนหลายล้านคน ในเวลาไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้      ที่ผ่านมา  ข้อสะโพกและข้อเข่า เป็นข้อที่ถูกใส่ข้อเทียมมากที่สุด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก      ในประเทศสหรัฐอเมริกา  แต่ละปีมีคนใส่ข้อสะโพกเทียมมากกว่า 300,000 คน และข้อเข่าเทียม 700,000 คน และโดยทั่วไปได้ผลค่อนข้างดี      แต่ทุกครั้งที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ  ก็จะมีคำถามสำคัญเกิดขึ้น: จะใช้ได้นานกี่ปี?

         มันก็เป็นคำถามที่สมควรแล้ว      ไม่มีใครอยากจะเสี่ยง, ทนอยู่กับความไม่สะดวกสบายหลังผ่าตัด และเวลาที่ต้องใช้ในการพักฟื้น   เพียงเพื่อจะต้องเข้าผ่าตัดใหม่อีกครั้งในเวลาไม่นาน

ระยะเวลาโดยประมาณ: 10 - 15 ปี

         ข้อเข่าเทียม หรือข้อสะโพกเทียม  สามารถใช้ได้ประมาณ 10 - 15 ปี       แต่บางครั้งอาการข้างเคียงซึ่งพบได้น้อยมาก ก็อาจเกิดขึ้น  ซึ่งทำให้จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกไม่นานหลังจากที่ผ่าตัดใส่ข้อเทียมไป      ในขณะที่บางคน ข้อเทียมสามารถอยู่ได้นานมากกว่า 20 ปี      ดังนั้น  จึงยากที่จะรู้ว่าแต่ละคนนั้น  ข้อเทียมจะอยู่ได้นานเท่าใด

         ทำไมการรู้ระยะเวลาการใช้งานของข้อเทียมจึงสำคัญนัก?       เพราะมันจะช่วยให้คนที่ยังไม่แน่ใจว่าจะใส่ข้อเทียมดีหรือเปล่า  ได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ     ยิ่งไปกว่านั้น  ยังต้องตัดสินใจว่า  จะเข้ารับการผ่าตัดดีหรือเปล่า       ตัวอย่างเช่น  คนที่อายุ 30 กว่าๆ  อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดใส่ข้อเทียมมากกว่า 2 ครั้ง (ครั้งที่ 2 คือ การใส่ข้อเทียม ทดแทนข้อเทียมอันแรกที่เสื่อมสภาพแล้ว)      ในคนที่อายุยังไม่มาก  ที่จะต้องใส่ข้อเทียม   แพทย์อาจแนะนำให้รอจนอาการหนักก่อน  โดยหวังว่าจะลดความจำเป็นในการผ่าตัดใส่ข้อเทียมซ้ำสอง หรือซ้ำสามในอนาคต

 

         เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2019     มีการวิเคราะห์ผลขนาดใหญ่ 2 ครั้ง ได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Lancet   เกี่ยวข้องกับอายุการใช้งานของ ข้อสะโพกเทียม และ ข้อเข่าเทียม  ซึ่งมีข้อมูลจากข้อเข่าเทียมเกือบ 300,000 ราย และข้อสะโพกเทียมมากกว่า 200,000 ราย      ผลปรากฏว่า:

  • เกือบ 60% ของข้อสะโพกเทียม  อยู่ได้นาน 25 ปี, 70% อยู่ได้นาน 20 years, และเกือบ 90% อยู่ได้นาน15 ปี
  • ส่วนข้อเข่าเทียมนั้น อยู่ได้นานกว่าอีก : 82% อยู่ได้ 25 ปี, 90% อยู่ได้ 20 ปี, และ 93% อยู่ได้ 15 ปี

         ตัวเลขประมาณการณ์นี้  สูงกว่าเมื่อก่อนมาก  อาจเป็นผลจากเทคนิคการผ่าตัด และวัตถุดิบอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้  ได้มีการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาก   รวมทั้งการดูแลทางการแพทย์ และการทำกายภาพหลังการผ่าตัดก็ดีขึ้นและทันท่วงที      ผู้ที่ดำเนินการวิจัยนี้ยังกล่าวอีกว่า   นี่เป็นตัวเลขที่สะท้อนถึง "ผู้ป่วยในชีวิตจริง" (เพราะเป็นการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยจากศูนย์การแพทย์หลายแห่ง ซึ่งได้ทำการใส่ข้อเข่าหรือข้อสะโพกเทียม) มากกว่าตัวเลขจำนวนน้อยจากศูนย์การแพทย์เพียงแห่งเดียว

หมายเหตุในการณ์วิจัยนี้:

  • การผ่าตัดที่ได้ศึกษาในการวิจัยนี้  ทำในประเทศนิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย, เดนมาร์ค, ฟินแลนด์, นอร์เวย์ และสวีเดน      ผลอาจแตกต่างจากในสหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ
  • ข้อมูลรายละเอียดไม่อาจเปิดเผยได้ว่า  คนไข้คนไหนเหมาะที่จะทำการผ่าตัดใส่ข้อเทียม  หรือคนไหนที่ถูกปฏิเสธให้เข้ารับการผ่าตัด  เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในการเกิดผลข้างเคียง หรือผ่าตัดไม่สำเร็จ

การผ่าตัด มักเป็นวิธีที่จะเลือกทำท้ายสุด (และบางครั้งเป็นวิธีที่ดีที่สุด)

         เมื่อข้อสะโพกหรือข้อเข่าเสื่อม  ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ    ยา, กายภาพบำบัด, ยาฉีดต่างๆ และวิธีการรักษาอื่นๆที่ไม่ใช่การผ่าตัด  อาจช่วยอะไรไม่ได้มาก      สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะทำการผ่าตัดใหญ่ได้ (และยินดีที่จะทำ)   การผ่าตัดใส่ข้อเทียม  มักจะเป็นเพียงตัวเลือกเดียวที่จะมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยลดความเจ็บปวดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น      การผ่าตัดใส่ข้อเทียมในผู้ป่วยข้ออักเสบนั้น  ดูเหมือนจะเป็นวิธีการรักษาอันดับสุดท้าย  เมื่อไม่มีวิธีอื่นช่วยแล้ว    แต่ถึงแม้ว่าข้อเทียมนั้น  จะไม่ได้ใช้งานได้ตลอดไป  แต่มันก็อาจจะนานกว่าที่เราคิด