7 อาการธรรมดา ที่คุณไม่รู้ว่าเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ตนเอง

เพิ่มเพื่อน

Autoimmune Disease (โรคภูมิแพ้ตัวเอง) – อาการของ “โรคระบาดที่ถูกแอบซ่อนไว้”

         ผู้คนประมาณ 50 ล้านคน แค่เฉพาะในอเมริกาอย่างเดียว มีภาวะ ภูมิต้านตนเอง      หลายๆคนมีอาการ โรคภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งอาการไม่ได้เป็นไปตามในหนังสือบอก     อาการมักจะเริ่มเพียงเล็กน้อย อาจเป็นเวลานานหลายปี แล้วค่อยๆเป็นมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพหนักขึ้นมา        หลายคนก็ไปพบแพทย์ด้วยอาการคลุมเคลือไม่ชัดเจน ซึ่งอาการเหล่านั้นก็ไม่ได้ตรงกับอาการที่มีสอนไว้ในโรงเรียนแพทย์

         อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง ก็คือ การเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์นั้น  ไม่ได้เน้นสอนในเรื่องที่ว่า โรคภูมิแพ้ตัวเอง สามารถส่งผลให้เกิดในหลายๆอวัยวะ หรือหลายๆระบบได้อย่างไร     แพทย์หลายท่านได้แต่เน้นไปที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หรือระบบใดระบบหนึ่งเกินไป  จึงไม่ได้เอะใจว่า ปัญหาสุขภาพหลายๆอย่างนั้นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดโรคภูมิแพ้ตัวเอง

 

Autoimmune Disease (โรคภูมิแพ้ตัวเอง)สามารถเป็นฆาตรกรเงียบได้

 

         โรคภูมิแพ้ตัวเองหลายชนิด เริ่มจากอาการเพียงเล็กน้อย แล้วก็พัฒนาไปสู่อาการเล็กน้อยชนิดอื่นๆอีกมากมาย    ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นสิบๆปี กว่าที่ปัญหานั้นจะทำลายสุขภาพมากพอที่จะส่งคุณไปหาหมอ เพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคได้      นั่นหมายความว่า ร่างกายคุณอาจเกิดการอักเสบสะสมอยู่เป็นเวลาหลายปี  กว่าจะเรียนรู้ว่า ร่างกายคุณได้ทำร้ายตัวเองอย่างเงียบๆมาตั้งนานแล้ว

อาการที่แอบซ่อนอยู่ใน Autoimmune Disease (โรคภูมิแพ้ตัวเอง) คืออะไร

         โรคภูมิแพ้ตัวเอง ไม่ได้มีอาการที่ชัดเจนเสมอไป     โดยทั่วไปมักเริ่มจากอาการเล็กน้อยก่อน แล้วรุนแรงขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป  ซึ่งมักจะหาสาเหตุ หรือตัวกระตุ้นที่ชัดเจนไม่เจอ   จึงมักถูกสรุปว่า เกิดจากอายุที่มากขึ้น, กรรมพันธุ์ หรือแม้แต่สาเหตุยอดนิยมซึ่งคุณหมอมักใช้เมื่อไม่รู้คำตอบ  ก็คือ ความเครียด      ดังนั้น  คำถามก็คือ “อาการที่ซ่อนอยู่ของโรคภูมิแพ้ตัวเอง  ที่จะบอกได้ว่าคุณกำลังจะเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง  มีอะไรบ้าง?”

1. อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ 

         อาการปวด, ตึง, ขัด และเหมือนจะบาดเจ็บหลังจากแม้เพียงกิจกรรมเบาๆก็ตาม   อาจเป็นกระบวนการเกิดโรคภูมิแพ้ตัวเอง อย่างเงียบๆและช้าๆเกิดขึ้นอยู่      คนที่มีอาการเหล่านี้  มักไม่สามารถหาว่าอาการปวดหรือบาดเจ็บของตนเกิดจากอะไร    โดยมากมักเป็นปัญหาที่กระดูกและกล้ามเนื้อที่ค่อยๆเป็นมากขึ้นอย่างช้าๆ     ต่อมา เมื่อคนเหล่านี้มีการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องออกแรง ก็จะทำให้อาการเป็นหนักมากขึ้นเรื่อยๆ     

         ในขณะที่อาการเป็นมากขึ้นๆ  คนเหล่านี้มักมีน้ำหนักขึ้น, มีอาการบวมน้ำ และมักจะเกิดการบาดเจ็บขึ้นจากการทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย      หลายๆครั้ง คนเหล่านี้มักเกิดอาการปวดที่เริ่มจากที่หนึ่ง แล้วไปอีกที่หนึ่งโดยไม่มีสาเหตุ และความเกี่ยวข้องกัน   โดยอาการปวดอาจมีอาการมากขึ้นจนเกิดการบวม, แดง, ข้อและกล้ามเนื้อมีอาการตึง จนไม่อาจจะทำกิจกรรมต่างๆได้ เพราะกลัวว่าจะปวดมากขึ้น     

         การไปพบแพทย์มักจะได้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ      ซึ่งนานๆไปก็ต้องใช้ยาแก้ปวดถี่ขึ้นๆ เป็นธรรมดา  เพราะผู้ป่วยมักได้รับการบอกว่า การปวดนี่เป็นเรื่องปกติ  หรือการปวดนี่เป็นเพราะอายุที่มากขึ้น      เมื่อหลายๆปีผ่านไปจากการใช้สารเคมีบดบังอาการปวด   กระบวนการของโรคภูมิแพ้ตัวเองที่ซ่อนอยู่ ก็จะค่อยๆเป็นมากขึ้น  หนักมากขึ้น  จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพใหญ่ขึ้น     

         โรคภูมิแพ้ตัวเองบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ ได้แก่ rheumatoid arthritis (ข้ออักเสบรูมาตอยด์), lupus (โรคเอสแอลอี), ankylosing spondylitis (โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด), migratory arthritis (ข้ออักเสบแบบย้ายที่), reactive arthritis (ข้ออักเสบจาก ปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่เกิดตามหลังการติดเชื้อ), dermatomyositis (การอักเสบบริเวณกล้ามเนื้อและผิวหนัง), myalgia (ปวดกล้ามเนื้อ), psoriatic arthritis (โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน) และ scleroderma (ภาวะที่มีการหนาและแข็งตัวขึ้นของผิวหนัง)

 

 

2. อาการอ่อนเพลียและสมองล้า 

         คุณตื่นมาด้วยอาการอ่อนเพลีย   ไม่ค่อยมีเรี่ยวมีแรงทำกิจวัตรประจำวัน   ไม่ค่อยมีสมาธิ หรือการจำเรื่องต่างๆ แม้เพียงเล็กน้อย ก็ดูเป็นสิ่งยากลำบาก         คนเหล่านี้ ก็มักหันไปหาคาเฟอีน จากกาแฟ หรือชา      ในตอนแรก  คาเฟอีน ก็มักจะช่วยให้มีพลังงานมากขึ้นในตอนเช้าไปจนถึงตอนบ่าย    แต่การรับประทานคาเฟอีนมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาด     วิตามินบี และแมกนีเซียมได้    ซึ่งทั้งสองตัวนี้จำเป็นต่อการสร้างพลังงานของร่างกาย   ความเหนื่อยล้าจึงยังคงอยู่ และมากขึ้นตามกาลเวลา     

         นอกจากนี้ คาเฟอีน ยังรบกวนการนอนหลับ   คนเหล่านี้จึงมักมีปัญหานอนไม่หลับ     และเมื่อมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ  การฟื้นตัวของร่างกายก็ลำบากขึ้น   อาการเหนื่อยล้าก็ยิ่งมากขึ้น      เมื่อไปพบแพทย์ ก็มักจะได้รับยาสำหรับโรค ADD (โรคสมาธิสั้น) หรือยาสำหรับโรคไทรอยด์      และถึงแม้ว่ายาเหล่านี้ บางครั้งจะบรรเทาอาการได้ก็จริง  แต่มันก็ไม่ได้แก้ปัญหากระบวนการ autoimmune ที่เกิดขึ้นอยู่ภายในร่างกาย      คนเหล่านี้จึงมักจะไม่ค่อยไปไหนมาไหน  มักจะนอนแช่อยู่แต่ในเตียงทั้งวัน     

         โรคภูมิแพ้ตัวเองบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับอาการเหล่านี้ คือ Hashimoto’s thyroiditis (hypothyroidism – ไทรอยด์ต่ำ), autoimmune gastritis (กระเพาะอาหารอักเสบจากโรคภูมิแพ้ตัวเอง) ที่ทำให้เกิดโลหิตจาง, pernicious anemia (ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ดีได้เพียงพอเพราะขาดวิตามินบี 12), เบาหวานชนิดที่ 1, Addison’s disease (โรคแอดดิสัน เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมหมวกไต), silent celiac (โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน แต่ไม่แสดงอาการ) และ myocarditis (กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ)

 

3. โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ 

         คล้ายๆกับข้อ 2    โลหิตจาง อาจก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลียรุนแรงได้      โดยอาการอ่อนเพลียที่เกิดจากโลหิตจาง มักจะไม่ดีขึ้น  ถึงแม้จะพักผ่อนแล้วก็ตาม    และมักมีอาการ 2-3 อย่างร่วมด้วย เช่น หายใจไม่อิ่ม, ปวดกล้ามเนื้อ, cold intolerance (ทนต่อความเย็นไม่ได้), exercise intolerance (ปวดมากขึ้นเวลาออกกำลังกาย), anxiety (โรควิตกกังวล) และเป็นลมง่าย       

         เนื่องจากโรคโลหิตจางมีหลายประเภท (โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, โลหิตจางจากการขาดวิตามินบี , โลหิตจางจากการแตกทําลายของเม็ดเลือดแดง ฯลฯ)   อาการหลายอย่างก็เลยคาบเกี่ยวกัน   ตัวอย่างเช่น B-vitamin deficiency anemia (โลหิตจางจากการขาดวิตามินบี)  อาจทำให้มีอาการเหน็บชาที่มือและเท้า  รวมทั้งอาการปวดประสาท เป็นภาวะที่ร่างกายมีอาการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท        Iron deficiency anemia (โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก)  อาจทำให้มีอาการทนต่อความเย็นไม่ได้      ผู้ที่มีอาการเหล่านี้มักมีประวัติเป็นโรคโลหิตจาง      ตัวอย่างเช่น  เมื่อผู้ป่วยเหล่านี้ไปพบแพทย์แล้วพบว่าตนเองมีภาวะธาตุเหล็กต่ำ     หลังจากได้รับการให้เลือด  พวกเขาก็จะรู้สึกดีขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แต่แล้วอาการโลหิตจางก็กลับมาอีกโดยไม่มีใครรู้ว่าเกิดจากอะไร     ดังนั้น  ผู้ป่วยก็ไปพบแพทย์อีก และได้รับการรักษาแบบเดิมๆเวียนไปๆ  โดยไม่เคยรู้เลยว่าพวกเขาป่วยเป็น autoimmune       

         ตัวอย่างของโรคภูมิแพ้ตนเองที่ก่อให้เกิดโลหิตจาง คือ celiac disease (โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน ), Crohn’s (ความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคืองและทางเดินอาหารบวม), Ulcerative Colitis (ลำไส้อักเสบ), multiple sclerosis(โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส), pernicious anemia (ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ดีได้เพียงพอเพราะขาดวิตามินบี 12) และ gastritis (โรคกระเพาะอาหารอักเสบ)     

         เรื่องสำคัญที่ควรรู้เรื่องหนึ่งก็คือ  โรคโลหิตจาง  อาจมีสาเหตุจากการรับประทานยาระงับการหลั่งกรด   เนื่องจากเราต้องการกรดในกระเพาะอาหารเพื่อใช้ในการดูดซึมธาตุเหล็ก และวิตามินบี      ดังนั้น  หัวข้อนี้มักจะคาบเกี่ยวกับ ข้อ7   เนื่องจากการขาดวิตามิน B-12 อาจก่อให้เกิด neuropathy (ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย) ได้   ดังนั้น  จึงมักพบอาการที่คาบเกี่ยวกับข้อ 4 ด้วย

 

4.Neuropathy (ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย) 

         เป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดในโรค autoimmune      การที่ระบบประสาทถูกทำลาย อาจแสดงออกมาในหลายรูปแบบ เช่น อาการเหน็บ ชา บริเวณปลายมือปลายเท้า, nerve pain (ปวดประสาท เป็นภาวะที่ร่างกายมีอาการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดแบบฉับพลัน รู้สึกเสียวและชาในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งใดกระตุ้น บางครั้งอาจเกิดขึ้นเป็นสัปดาห์จนถึงเป็นเดือน หรืออาจนำไปสู่อาการปวดอย่างถาวรได้ ), อาการเจ็บแปลบไปสู่แขนและขา ,กล้ามเนื้ออ่อนแรง, สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ, hypersensitivity to touch (ไวผิดธรรมดาที่มีต่อการสัมผัส)        

         Neuropathy สามารถส่งผลกระทบต่อสมอง และไขสันหลัง และกล้ามเนื้อได้     อาการสามารถแสดงออกในรูปของ dizziness (อาการมึนเวียนศีรษะ), brain fog (ภาวะสมองล้า), vertigo (อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน), poor coordination (การประสานงานของร่างกายไม่ดี) และหูอื้อ      กลุ่มอาการในข้อนี้ มักคาบเกี่ยวกับข้อ 1,2 และ 3      โรคภูมิแพ้ตัวเองที่มีการทำลายระบบประสาท  จะส่งผลต่อทางเดินอาหารด้วย  ทำให้เกิด ลำไส้แปรปรวน  และในกรณีอาการหนักอาจเกิด gastroparesis (อาการของภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารอ่อนแรง)        มีการศึกษาวิจัยจำนวนมาก พบความเกี่ยวข้องของการรับประทานกลูเทน และผลิตภัณฑ์จากนมเนย กับการทำลายระบบประสาทจากโรคภูมิแพ้ตนเอง      

         ตัวอย่างของโรคภูมิแพ้ตนเองที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น multiple sclerosis (โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส), GBS (การเสื่อมสลายของปลอกหุ้ม ไมอิลิน ), cerebellar ataxia, dynautonomia (โรคระบบประสาทอัตโนมัติเสียการทำงาน), ALS (โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง), Restless Leg Syndrome (กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข), transverse myelitis (ไขสันหลังอักเสบ), polyneuropathy (ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย) และ gastroparesis (ภาวะที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นทำงานลดลง)

 

5.Cold Intolerance (ทนต่อความเย็นไม่ได้) 

         Cold intolerance เป็นอาการทั่วไปที่บ่งบอกถึงปัญหาเรื่อง autoimmune      รูปแบบหนึ่งของการแพ้ภูมิตนเองที่เรียกว่า Raynaud’s disease (โรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับหลอดเลือดเมื่อเจอความเย็นหรือมีความเครียด) สามารถทำให้เกิดอาการ cold intolerance ได้  นอกจากนี้ hypothyroidism (ภาวะไทรอยด์ต่ำ), Anemia (ภาวะโลหิตจาง) ก็สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้

 

6.Intermittent Low Grade Fevers (มีไข้ต่ำๆเป็นระยะๆ) 

         ร่างกายใช้ อาการไข้ เพื่อช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ และบางครั้งต่อสู้กับการแพ้อาหาร      หลายคนที่มีอาการนี้ มักมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมที่คอ      เนื่องจากการติดเชื้อ และการแพ้อาหาร เป็นตัวกระตุ้นหลักในการเกิดโรค autoimmune      การมีไข้ต่ำๆโดยไม่มีสาเหตุควรจะได้รับการวินิจฉัยต่อไป      แต่ควรใส่ใจว่า ไม่ใช่การติดเชื้อทุกครั้งจะเห็นชัดเจน  บางครั้งเป็นอาการที่ค่อนข้างจะเรื้อรัง

 

 

 

  1. Gut Problems (ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร)                                                                                                                    ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดในโรค autoimmune     อาการทางเดินอาหารที่พบ เช่น intestinal hyper-permeability (Leaky Gut - ภาวะลำไส้รั่ว)        ซึ่ง Leaky gut เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการทาง autoimmune, Acid reflux(โรคกรดไหลย้อน), intestinal bloating (ท้องอืด), ปวดท้อง  ล้วนเป็นอาการปกติที่แสดงว่าโรคนี้กำลังดำเนินอยู่     

         นอกจากนี้  อาการท้องผูก, ท้องเสีย และมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ อาจเป็นอาการของโรค autoimmune ได้      ความเสียหายของระบบทางเดินอาหาร มักเป็นผลจากการแพ้อาหาร, ภูมิแพ้อาหารแฝง และการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตราย (เช่น ยาฆ่าแมลง, คลอรีน ฯลฯ)      ยาหลายๆชนิด  สามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้   ดังนั้น  หากคุณกำลังรับประทานยาอยู่  ให้ศึกษาถึงผลข้างเคียงของยาต่อทางเดินอาหารด้วย