สารอาหาร 12 ชนิด ที่มีเป้าหมายทำลายเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง
การขาดสารอาหาร อาจนำไปสู่การเติบโตของมะเร็ง ในทางกลับกัน สารอาหารที่เหมาะสมสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้เพิ่มจำนวนได้
นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานหลายทศวรรษแล้วว่า เซลล์มะเร็งมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเอง, เพิ่มจำนวน, เปลี่ยนแปลง และหลีกหนีกระบวนการปกติของเซลล์ เช่น การตายของเซลล์ หรือ "การฆ่าตัวตายของเซลล์" เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยได้เรียนรู้ว่า เซลล์มะเร็งเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด เซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงในร่างกายของเรา ซึ่งหากได้รับ "สัญญาณ" ที่ถูกต้อง จะทำให้เปลี่ยนเป็นเซลล์ "ชนิดพิเศษ" ได้
เซลล์ต้นกำเนิดที่พบในผู้ใหญ่เรียกว่า adult stem cells ซึ่งโดยปกติจะทำหน้าที่เป็นระบบซ่อมแซมร่างกาย, เติมเต็มเนื้อเยื่อของร่างกายอย่างต่อเนื่อง
นักวิจัยยังเริ่มเข้าใจว่า อาหารของเราอาจเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการป้องกัน และรักษามะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคผักและผลไม้สดที่ไม่ผ่านการฉายรังสีเป็นประจำ มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังหลายชนิดรวมถึงมะเร็ง
เซลล์มะเร็งเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด
สิ่งที่เรียกว่า เทคนิคการอยู่รอด ช่วยให้เซลล์มะเร็งพัฒนาไปสู่โรคที่แพร่กระจาย และไม่หยุดยั้ง ซึ่งสามารถสร้างความหายนะให้กับเนื้อเยื่อใด ๆ ในร่างกายของเรา แตกต่างจากเซลล์ต้นกำเนิดทั่วไป เซลล์ต้นกำเนิดจากมะเร็งมีความสามารถในตัวเอง, ทนต่อยาเคมีบำบัด และการรักษา, มีความสามารถในการต่ออายุตัวเอง, เพิ่มการอักเสบ และไม่ได้รับอิทธิพลจากการสัมผัสกับเซลล์ต้นกำเนิดอื่น ๆ หรือสัญญาณต่อต้านการเจริญเติบโต
เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งยังคงอยู่โดยการสร้างเส้นเลือดใหม่ (กระบวนการทางสรีรวิทยาที่สร้างเส้นเลือดใหม่ซึ่งเนื้องอกมะเร็งใช้เพื่อป้อนสารอาหารและเติบโต) กลไกพลังงานของเซลล์ที่มีข้อบกพร่อง และความสามารถในการหลีกเลี่ยงการทำงานของเซลล์ตามปกติ เช่น การตายของเซลล์ หรือเซลล์ฆ่าตัวตาย
สารพฤกษเคมี (Phytochemicals) ที่ต่อสู้กับมะเร็ง
อาหารจากพืชที่อุดมด้วยสารอาหาร มักมีสารพฤกษเคมีซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง สารพฤกษเคมี เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช บางชนิดมีผลต่อสี เช่น สีม่วงเข้มของบลูเบอร์รี่ ในขณะที่บางชนิดมีผลต่อกลิ่น ตัวอย่างเช่น กลิ่นหอมฉุนของกระเทียมคั้นสด
สารพฤกษเคมี สามารถออกฤทธิ์เฉพาะกับร่างกายของเรา เมื่อเราบริโภคพืชที่มีส่วนประกอบเหล่านี้ คาดว่าอาจมีสารพฤกษเคมีที่แตกต่างกันมากถึง 4,000 ชนิดในโลกของพืช สารพฤกษเคมีบางชนิด ไม่เพียงแต่กำหนดเป้าหมาย และฆ่าเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งเท่านั้น แต่ยังซ่อมแซมข้อบกพร่องทางกลไกในร่างกายของเราที่เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้อีกด้วย
12 สารอาหารที่ควรบริโภคทุกวัน
รับประทานสารอาหาร 12 ชนิดต่อไปนี้ทุกวันเพื่อให้ร่างกายมีเครื่องมือต่อสู้กับมะเร็งที่จำเป็นเพื่อป้องกันและรักษาการเติบโตของมะเร็ง
#1 – Ursolic Acid
พบในสมุนไพร เช่น ใบกะเพรา และในผลไม้ที่เคลือบด้วยแว็กซ์ตามธรรมชาติ เช่น แอปเปิ้ล กรดเออร์โซลิกมีศักยภาพในการต้านมะเร็งที่ไม่ธรรมดา พบว่า กรดเออร์โซลิกสามารถใช้เพื่อรักษามะเร็งผิวหนัง, ลำไส้ใหญ่, เต้านม, ปอด, ปากมดลูก, ต่อมลูกหมาก, หลอดอาหาร และตับอ่อน
กะเพราเป็นแหล่งที่ดีของกรดเออร์โซลิก รวมทั้งสมุนไพรทั่วไปอื่นๆด้วย เช่น ลาเวนเดอร์, สะระแหน่, ออริกาโน และไธม์
กรด ursolic ช่วยลดขนาดของเนื้องอก และการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกลของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก โดยการปิดกั้นการแสดงออกของโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอดของการแพร่กระจาย
นักวิจัยตระหนักถึงความสามารถของกรด ursolic ในการลดเอนไซม์ที่ส่งเสริมการอักเสบแม้ว่าจะไม่มีความเข้าใจอย่างเต็มที่เกี่ยวกับการทำงานทางชีววิทยาทั้งหมดที่กรด ursolic ผลต่อการลดระดับของเอนไซม์เหล่านี้ มีความสำคัญต่อการปิดกั้นวัฏจักรของเซลล์ที่ผิดปกติและป้องกันการแสดงออกของยีนที่ปิดการตายของเซลล์
กล่าวอีกนัยหนึ่ง กรด ursolic จะเพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง และป้องกันการจำลองแบบของ DNA ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของการเติบโตของมะเร็งที่อาจนำไปสู่การแพร่กระจาย
การเพิ่มปริมาณกรดเออร์โซลิกในการบริโภคในแต่ละวัน สามารถยับยั้งเนื้องอกไม่ให้ก่อตัวขึ้นในร่างกายของคุณ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหลายคน เสริมด้วยกรดเออร์โซลิก 150-300 มก. วันละ 3 ครั้งเพื่อประโยชน์สูงสุด นี่เป็นปริมาณมากกว่าที่คุณจะได้รับจากการใช้เปลือกแอปเปิ้ล และใบกะเพราซึ่งมีกรด ursolic แค่ 5-10 มก. ต่อหนึ่งมื้อ อย่างไรก็ตาม เปลือกแอปเปิ้ลที่มีแว็กซ์ และใบกะเพรา ยังมีสารอาหารอื่น ๆอีก ที่มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และไม่ควรที่จะไม่กิน
#2 – Piperine (ไพเพอรีน)
ทุก ๆ ปี มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 639,000 คนทั่วโลก สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่น่าจะเกิดจากสถิติที่สูงเช่นนี้คือ แบคทีเรียที่เรียกว่า H. pylori ซึ่งบุกรุกเยื่อบุทางเดินอาหารของประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และเป็นสารก่อมะเร็ง ไพเพอรีนซึ่งเป็นสารประกอบที่พบในพริกไทยดำเป็นที่รู้จักกันในนาม "ราชาแห่งเครื่องเทศ" ช่วยลดการเกิดมะเร็งที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และเต้านม Piperine ถูกใช้เพื่อรักษาอาการหวัด และไข้ ล่าสุดได้รับความสนใจจากคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง
การวิจัยโดยตรงแสดงให้เห็นว่า ไพเพอรีนมีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่อโรคกระเพาะที่เกิดจากเชื้อเอชไพโลไร และอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันการก่อมะเร็งในกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับเอชไพโลไร Piperine ดูเหมือนจะป้องกันการเจริญเติบโตของ H. pylori โดยการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเกาะติดกับพื้นผิวทางเดินอาหาร
สารไพเพอรีนพบในพริกไทยดำและมีส่วนทำให้เกิดรสฉุน
นอกจากนี้ยังพบในการทดสอบว่า Piperine กำหนดเป้าหมายเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งของเนื้องอกในเต้านม ผลจาก piperine ทำให้แบคทีเรีย H. pylori ไม่สามารถปล่อยสารพิษซึ่งทำให้เกิดความเครียด, เพิ่มระดับการอักเสบ และส่งเสริมการเติบโตของมะเร็ง ปัจจัยในการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ (antimutagenic) ที่ไพเพอรีนกระตุ้น อาจเนื่องมาจาก ความสามารถในการป้องกันโปรตีนจากการจับตัวกัน ซึ่งปกติจะกระตุ้นการก่อมะเร็ง เพิ่มไพเพอรีนในอาหารประจำวันของคุณ โดยใส่พริกไทยดำคุณภาพสูง บดสดใหม่ในน้ำสลัด, ซอส และซุป
#3 – Lycopene (ไลโคปีน)
ไลโคปีนเป็นสารออกฤทธิ์ที่ทำลายการทำงานของเซลล์มะเร็ง อาหารที่อุดมไปด้วยไลโคปีน ได้แก่ ผักและผลไม้ที่มีเนื้อสีแดง เช่น มะเขือเทศ, แตงโม, เกรปฟรุ้ตสีชมพู หรือที่เรียกว่า “blood” oranges ในความเป็นจริง น้ำส้มรสหวานเนื้อแดงที่มีเบต้าแคโรทีน และไลโคปีนในระดับสูง แสดงให้เห็นว่ามีผลทางเคมีที่อาจเกิดขึ้นต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในการทดลองในห้องปฏิบัติการ
การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยไลโคปีนนั้น ง่ายพอ ๆ กับการทานแตงโมในวันที่อากาศร้อนหรือใส่เกรปฟรุ๊ตลงในโยเกิร์ต ใส่เนื้อกลับเข้าไปในเครื่องดื่มของคุณเมื่อคั้นน้ำผลไม้รสเปรี้ยวที่มีไลโคปีน เพิ่มการดูดซึมของไลโคปีนในอาหาร ด้วยการเคี่ยวผิวมะเขือเทศก่อนบริโภค และเพลิดเพลินกับซอสพาสต้า และซัลซ่าแบบโฮมเมด
คุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งของไลโคปีน เกิดจากความสามารถในการเพิ่มความเป็นพิษต่อเซลล์และการตายของเซลล์ในเซลล์มะเร็ง สารอาหารนี้ ขัดขวางสัญญาณการสื่อสารของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง ซึ่งช่วยให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต และเพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง มะเร็งที่ไลโคปีนอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก, ลำไส้ใหญ่, ปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ไลโคปีนพบได้ในผักและผลไม้ที่มีเนื้อสีแดง เช่น ส้มสีเลือด และแตงโมสีชมพู
หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรต และรับประทานอาหารที่เป็นคีโตเจนิก คุณอาจต้องพิจารณาเสริมด้วยไลโคปีน 30-50 มก. วันละ 1-2 ครั้ง นี่คือปริมาณเท่ากันที่คุณจะได้รับจากการรับประทานซอสมะเขือเทศออร์แกนิก 2 servings
#4 – Isothiocyanates (ไอโซไทโอไซยาเนต)
ไอโซไทโอไซยาเนต มาจากสารประกอบที่มีกำมะถันตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า กลูโคซิโนเลต ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลี, กะหล่ำดอก, ผักเคล (Kale), Brussels sprout (กะหล่ำดาว), วาซาบิ, ฮอสแรดิช (Horseradish), มัสตาร์ด, หัวไชเท้า และแพงพวยฝรั่ง มีกลูโคซิโนเลตหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะสร้างไอโซไทโอไซยาเนตที่แตกต่างกันเมื่อไฮโดรไลซ์ในร่างกายของเรา
ไอโซไทโอไซยาเนต เช่น ซัลโฟราเฟน อาจช่วยป้องกันมะเร็งได้ โดยการกำจัดสารก่อมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นและเพิ่มการผลิตที่เรียกว่า "โปรตีนยับยั้งเนื้องอก" กล่าวอีกนัยหนึ่ง การบริโภคไอโซไทโอไซยาเนตผ่านการบริโภคผักตระกูลกะหล่ำอาจลดความเสี่ยงมะเร็ง - แม้ว่าการต้มผักตระกูลกะหล่ำ หรือไมโครเวฟ จะลดความสามารถในการดูดซึมของไอโซไทโอไซยาเนต ขึ้นอยู่กับผักแต่ละชนิด แนะนำให้บริโภคดิบ (เช่น ต้นอ่อนบรอคโคลี (Broccoli Sprouts) และผักสลัดน้ำ หรือ วอเตอร์เครส (WATER CRESS)) หรือนึ่ง (เช่น กะหล่ำดาว, ผักเคล และกะหล่ำดอก) เพื่อรักษาสารอาหารให้ได้มากที่สุด
ต้นอ่อนบรอกโคลีอายุ 3 วัน มีซัลโฟราเฟนสูงกว่าบรอกโคลีหัว 10-100 เท่า
ไอโซไทโอไซยาเนต ส่งเสริมการล้างพิษ, เพิ่มภูมิคุ้มกัน, กระตุ้นสารยับยั้งมะเร็ง และป้องกันการเติบโตของเนื้องอกที่เกี่ยวข้องกับเต้านม, กระเพาะอาหาร, ม้าม, ต่อมลูกหมาก และลำไส้ใหญ่ Isothiocyanates ยับยั้งมะเร็งได้หลายวิธี โดย:
- ป้องกันไม่ให้สารพิษสะสม
- ป้องกันการอักเสบ
- กระตุ้นศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ
- เพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ให้แข็งแรง และกำจัดแบคทีเรียก่อมะเร็งที่เชื่อมโยงกับมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ส่งเสริมเอนไซม์เฟส 2 ซึ่งกระตุ้นการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กลูตาไธโอน
- เพิ่มเส้นทางการส่งสัญญาณ Nrf2 เพื่อป้องกันการก่อตัวของเนื้องอก
คุณสามารถได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายของไอโซไทโอไซยาเนต โดยการเพิ่มลงในอาหารของคุณ แม้ว่าผักตระกูลกะหล่ำจะเป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมของสารประกอบที่ทรงพลังเหล่านี้ แต่กลับกลายเป็นว่า ต้นอ่อนของพวกมันเป็นอาหารที่ต่อสู้กับมะเร็งได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น ต้นอ่อนในตระกูลกะหล่ำ มีสารประกอบกลูโคซิโนเลตที่จำเป็นต่อร่างกายในการผลิตไอโซไทโอไซยาเนตมากกว่าบรอกโคลีทั้งหัว 100 เท่า!
หากเลือกเสริมด้วยซัลโฟโรเฟน แพทย์หลายคนแนะนำให้รับประทาน 300-600 มก. วันละ 1-2 ครั้ง นี่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการเสริมการรักษามะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน เนื่องจากไอโซไทโอไซยาเนตเป็นสารล้างพิษจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ดีมาก
#5 – Curcumin (เคอร์คูมิน)
ขมิ้น เป็นไม้ล้มลุกตระกูลขิง เหง้าของพืชชนิดนี้ต้มแห้งและบดเป็นผงสีเหลืองส้มเข้มซึ่งใช้เป็นเครื่องเทศในอาหารอินเดีย, สำหรับการย้อมสี และเพื่อให้สีของเครื่องปรุงมัสตาร์ด สารออกฤทธิ์อย่างหนึ่งของผงขมิ้นนี้คือเคอร์คูมิน
เคอร์คูมินมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ, ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง เคอร์คูมินป้องกันการอักเสบเรื้อรัง และยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เคอร์คูมินควบคุมปัจจัย และสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง และจัดการกับเส้นทางการส่งสัญญาณหลายอย่างที่จำเป็นสำหรับการก่อมะเร็ง
เคอร์คูมิน แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายของเซลล์มะเร็ง โดยการปิดปัจจัยที่ปกติจะยับยั้งการตายของเซลล์, ป้องกันการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ให้สารอาหาร และการไหลเวียนของเลือดไปยังเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการบุกรุกของเนื้องอก และการแพร่กระจาย
ขมิ้นเป็นสมาชิกในตระกูลขิงที่ใช้กันมานานหลายศตวรรษในยาอายุรเวชและยาจีน
มะเร็งชนิดต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่า ถูกยับยั้งด้วยเคอร์คูมิน:
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งของเซลล์เนื้อเยื่อไต (renal cancer)
- มะเร็งไต (kidney cancer) เป็นชนิดของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในไต โดยเกิดจากเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อไตและกรวยไตที่ผิดปกติ
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งสมอง
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งตับ
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
- มะเร็งเกี่ยวกับคอ
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหลายคน แนะนำให้รับประทานยาขนาด 500-1000 มก. วันละ 3-4 ครั้งพร้อมอาหาร ควรผสมเคอร์คูมินกับไพเพอรีนจากพริกไทยดำ และรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมันเพื่อการดูดซึมที่ดีที่สุด
#6 – EGCG
Epigallocatechin-3-gallate หรือที่เรียกว่า EGCG เป็นโพลีฟีนอลที่พบในชาเขียว EGCG เชื่อมโยงกับประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมถึงความสามารถในการรักษามะเร็ง
คุณรู้หรือไม่ว่า การจิบชาเขียวเป็นประจำ สามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งปอดได้ คุณสามารถเติมชาเขียวลงในสมูทตี้
EGCG ป้องกันเซลล์มะเร็งจากการเพิ่มจำนวนทำให้เกิดการอักเสบและบุกรุกเนื้อเยื่อใหม่และยังขัดขวางเส้นทางการสื่อสารของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง นักวิจัยพบว่า EGCG ยับยั้งโปรตีนสำคัญที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอดของเซลล์มะเร็งจากการจับตัวและปิดกลไกที่ก่อให้เกิดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
พบว่า EGCG และสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวอื่น ๆ สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้เติบโต, ฆ่าเซลล์มะเร็ง และป้องกันการสร้าง และการเติบโตของหลอดเลือดใหม่ในเนื้องอก
ชาเขียวมัทฉะ เป็น EGCG รูปแบบที่มีศักยภาพมากที่สุด มัทฉะหนึ่งแก้วเทียบเท่ากับชาเขียวที่ขายทั่วไป 10 แก้วในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการ และปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังสามารถเสริมด้วย EGCG 400-800 มก. วันละ 1-2 ครั้ง ควรรับประทานในช่วงต้นของวันเสมอ เพราะสามารถเกิดฤทธิ์กระตุ้นได้
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ ชาเขียวลดการดูดซึมโฟเลต หากใช้ชาเขียวทุกวัน ขอแนะนำให้บริโภคผักใบเขียวสดๆ (ที่อุดมไปด้วยโฟเลต) ให้มากเป็นพิเศษ ในสลัดหรือน้ำผลไม้หรือเสริมด้วยเมธิล โฟเลต หรือแคลเซียม โฟลิเนต 500 ไมโครกรัม
# 7 - วิตามิน D3 (Cholecalciferol)
เซลล์มะเร็งประมาณ 10,000 เซลล์ ถูกผลิตขึ้นทุกวันในร่างกายของเรา และมีความสามารถในการบุกรุกเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ การขาดวิตามิน D3 เป็นหนึ่งในปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของการเกิดโรคมะเร็ง น่าเสียดายที่เราไม่มีเวลาอยู่กลางแจ้งในแสงแดดธรรมชาติ และการใช้ยาสังเคราะห์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายของเราสามารถดูดซึมสารอาหารจากแสงแดดและแหล่งวิตามินดีจากอาหารได้ลดลง การรับประทานวิตามิน D3 อย่างเหมาะสมทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันมะเร็ง
วิตามิน D3 ในปริมาณ 20,000 IU เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการชะลอการเกิดมะเร็ง และบรรเทาอาการอักเสบในระบบ บางทีสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการบริโภค D3 ต่อวันคือการผลิต GcMAF ซึ่งเป็นโปรตีนที่ยับยั้งเซลล์มะเร็ง และเพิ่มการตอบสนองตามธรรมชาติของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารรุกรานเช่นมะเร็ง GcMAF สามารถกำจัดเนื้องอกได้อย่างสมบูรณ์ แต่ต้องการระดับวิตามิน D3 ที่เพียงพอสำหรับการทำงานของมัน
ระดับที่เหมาะสมสำหรับวิตามิน D3 (25-hydoxy vitamin D) อยู่ระหว่าง 60-100 ng / ml โดยมีช่วงที่เหมาะสมระหว่าง 80-100 ng / ml สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันหรือชะลอการเติบโตของมะเร็ง โดยทั่วไปให้ทาน 1,000 IUs ต่อ 25 ปอนด์ (11.3 กก.) ของน้ำหนักตัว เพื่อเพิ่มระดับวิตามินดีอย่างช้าๆ หรือใช้ 2,000 IUs ต่อน้ำหนักตัว 25 ปอนด์เพื่อเพิ่มระดับวิตามินดีอย่างรวดเร็ว
การขาดวิตามิน D3 เป็นหนึ่งในปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง
เนื่องจากวิตามินดีเป็นสารอาหารที่ละลายในไขมัน จึงควรรับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบเพื่อการดูดซึมที่ดีที่สุด
#8 – Resveratrol (เรสเวอราทรอล)
เรสเวอราทรอล เป็นฟีนอลธรรมชาติที่ผลิตโดยพืชหลายชนิดเพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บหรือเมื่อถูกแบคทีเรีย หรือเชื้อราโจมตี แหล่งของเรสเวอราทรอล ได้แก่ ผิวองุ่น (รวมทั้งไวน์ที่ทำจากผิวองุ่น) บลูเบอร์รี่, ราสเบอร์รี่ และมัลเบอร์รี่
สารประกอบฟีนอลิกนี้ มีความสามารถในการป้องกัน และรักษาสภาวะบางอย่าง เช่น มะเร็ง ออกแบบมาเพื่อปกป้องเซลล์ของเราจากความเสียหาย และช่วยในการยืดอายุการใช้งาน และปรับปรุงกระบวนการของเซลล์ปกติที่ก่อให้เกิดการซ่อมแซม คุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งของเรสเวอราทรอล พบว่าสามารถป้องกัน และรักษามะเร็งที่เกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมาก, ตับ, ลำไส้ใหญ่, ตับอ่อน, ผิวหนัง และอวัยวะอื่น ๆ
ผิวองุ่นเป็นหนึ่งในแหล่งของเรสเวอราทรอลที่สูงที่สุด แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะได้รับเรสเวอราทรอลอย่างเพียงพอจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว
การเพิ่มอาหารเสริมเรสเวอราทรอลอาจจำเป็น เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับเรสเวอราทรอลอย่างเพียงพอจากอาหาร และเครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นต่ำ ผู้ป่วยที่ต่อสู้กับโรคมะเร็ง สามารถทานเรสเวอราทรอลได้มากกว่า 200 มก. ผู้ป่วยที่ไม่เป็นมะเร็ง สามารถรับประทานเรสเวอราทรอล 20-100 มก. ทุกวัน เพื่อผลในการต้านมะเร็งที่ดีที่สุด
#9 – 6-Gingerol
ขิง เป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมของไฟโตนิวเทรียนท์ 6-Gingerol ซึ่งช่วยลดการผลิตไนตริกออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และการรบกวนของเซลล์อื่น ๆ 6-Gingerol ป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และมีความสามารถในการป้องกันระบบประสาทที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า 6-Gingerol ช่วยกระตุ้นกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ และการรักษาตัวเองทางเภสัชวิทยา
กลิ่นหอมและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของขิง มาจากน้ำมันธรรมชาติ คือ Gingerol ซึ่งได้รับการศึกษาถึงฤทธิ์ต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ได้ประโยชน์จาก 6-Gingerol ลองจิบชาขิง, เพิ่มลงในน้ำหมักเนื้อ, ในจานผัก และโคลสลอว์ และน้ำสลัด เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งในอาหาร นอกจากนี้ยังแนะนำให้บริโภคขิงหมักซึ่งมักใช้ในอาหารเอเชีย เช่น ซูชิ และกิมจิ
#10 – Silymarin (ซิลีมาริน)
หรือที่เรียกว่า มิลค์ ทิสเทิล (milk thistle) Silymarin เป็นฟลาโวนอยด์ที่ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนัง และมะเร็งลำไส้ใหญ่ Silymarin ทำหน้าที่เป็นสารล้างพิษที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถส่งเสริมการทำงานของตับ, ไต และระบบทางเดินอาหาร Silymarin แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการรักษาป้องกันมะเร็งของผิวหนัง, ต่อมลูกหมาก, ปากมดลูก และเต้านม
ความสามารถของ Silymarin ในการส่งเสริมการให้ออกซิเจนไปยังเซลล์เม็ดเลือด และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ของสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น กลูตาไธโอน และซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) เชื่อว่ามีส่วนช่วยในการรักษามะเร็ง Silymarin ยับยั้งสารก่อมะเร็งจากการสะสมในอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งช่วยในกระบวนการล้างพิษ และลดความเสี่ยงต่อการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
Silymarin เป็นสารออกฤทธิ์หลักใน Milk Thistle Silymarin เป็นทั้งสารต้านการอักเสบ และสารต้านอนุมูลอิสระและมักใช้เป็นวิธีธรรมชาติบำบัดสำหรับปัญหาเกี่ยวกับตับ
เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เสริมด้วย Milk Thistle 200-600 มก. ทุกวัน เพื่อป้องกันของเสียที่เป็นพิษ และการอักเสบ
#11 – Quercetin (เควอซิติน)
Quercetin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในอาหาร ที่พบในผลไม้, ผัก, ชา และไวน์ Quercetin ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า รบกวนการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง โดยการปิดกั้นการสื่อสารไปยังกระบวนการที่กระตุ้นการผลิตอนุมูลอิสระ เป็นผลให้อนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย และกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง เช่น reactive oxygen species ลดลงอย่างมาก
Quercetin มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง ช่วยเพิ่มการผลิตระดับสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ เช่น กลูตาไธโอน และ SOD ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และการเติบโตของมะเร็ง อาจใช้ quercetin ในปริมาณสูง เพื่อลดการแสดงออกของยีนกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง ที่เชื่อมโยงกับมะเร็งเม็ดเลือดขาว Quercetin สามารถบรรเทาอาการอักเสบ และทำหน้าที่เป็น antihistamine เนื่องจากมีผลต่อการลดการตอบสนองของเซลล์ภูมิคุ้มกัน
แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ quercetin ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว, แอปเปิ้ล, หัวหอม, ผักชีฝรั่ง, สะระแหน่, ชา และไวน์แดง
การบริโภคแอปเปิ้ลออร์แกนิก (กินทั้งเปลือก) หัวหอมแดง, ชาเขียว, ราสเบอร์รี่ และมะเขือเทศสีเข้ม เป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มเควอซิตินในอาหาร และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง หากเลือกเสริมด้วย quercetin แนะนำให้รับประทาน 400-500 มก. วันละ 2-3 ครั้ง
#12 – Anthocyanins (แอนโธไซยานิน)
แอนโธไซยานินกว่า 600 ชนิด พบได้ตามธรรมชาติในพืช เช่น ผลเบอร์รี่ (โดยเฉพาะบิลเบอร์รี่) องุ่น, กะหล่ำปลีแดง, หัวหอมแดง, มะเขือยาว, ชา และส้มบางชนิด แอนโธไซยานินเพิ่มการทำงานของยีนซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งเส้นทางการเติบโตของเนื้องอกในเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง แอนโธไซยานินยังกระตุ้นการตายของเซลล์ โดยการจัดการสัญญาณของเซลล์ระหว่างเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง และเนื้องอก
แอนโธไซยานินช่วยให้ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ตามธรรมชาติ ทำให้อาจมีประโยชน์ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่, ลดเนื้องอกมะเร็งเต้านม และจำกัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่ให้แพร่กระจาย แอนโธไซยานินมีความสามารถในการควบคุมเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ แอนโธไซยานินช่วยเพิ่มการผลิตของยีนที่ยับยั้งเนื้องอก, กระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ และสร้างความผิดปกติในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยแอนโธไซยานิน สามารถช่วยปกป้องร่างกายจากการเกิดมะเร็งและต่อสู้กับเนื้องอกที่มีอยู่แล้ว การรับประทานบลูเบอร์รี่ออร์แกนิก หรือแบล็กเบอร์รี่สักหยิบมือในแต่ละวัน เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการได้รับแอนโธไซยานินเข้าสู่ร่างกาย
ชื่อแอนโธไซยานินมาจาก "cyan" ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่าสีน้ำเงินเข้ม แอนโธไซยานินสีน้ำเงินเข้มและสีม่วงถูกสร้างขึ้นในระดับเซลล์ และให้การป้องกันแสงแดดสำหรับพืช และตัวเราเมื่อเราบริโภคเข้าไป
วิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการได้รับแอนโธไซยานิน คือ การทำซาวเคราท์ (Sauerkraut) ด้วยกะหล่ำปลีแดง และหัวหอมแดง ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายอุดมไปด้วยไอโซไทโอไซยาเนต (isothiocyanates), แอนโธไซยานิน และสารประกอบกำมะถันอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มกลูตาไธโอนและสารฆ่าเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง
มุ่งมั่นที่จะรับประทานอาหารต้านมะเร็ง
วิธีการฆ่าเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งมีอยู่ในอาหารของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมุ่งมั่นในระยะยาว อาหารจากพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ต่อสู้กับการอักเสบเรื้อรัง, ชะลอความแก่ของเซลล์กระตุ้นการทำงานของเซลล์ตามปกติ และที่สำคัญที่สุด คือ กำหนดเป้าหมายและทำลายเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง มีความสำคัญต่อการมีชีวิตที่ปลอดมะเร็ง
การปิดเส้นทางการส่งสัญญาณซึ่งกระตุ้นกลไกการอยู่รอดในเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง จำเป็นต่อการมีชีวิตที่ปลอดมะเร็ง และสามารถทำได้ด้วยสารอาหาร 12 ชนิดที่กล่าวถึงในบทความนี้
ดังนั้น…คุณวางแผนที่จะนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเป็นประจำอย่างไรเพื่อให้คุณและครอบครัวได้รับการป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุด?