คุณมีอัตราส่วนทองแดงต่อสังกะสีสูงหรือไม่?

หน้าที่ของสังกะสีและทองแดงและผลกระทบของอัตราส่วนทองแดงต่อสังกะสีในร่างกายสูง

         ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยสารอินทรีย์และอนินทรีย์    เกือบ 99% ของร่างกาย  ประกอบด้วยธาตุ 6 ชนิด ได้แก่ ออกซิเจน, คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ไนโตรเจน, แคลเซียม และฟอสฟอรัส     ปริมาณที่เหลือเป็นแร่ธาตุอื่นๆในปริมาณน้อย (trace minerals)    trace minerals  เป็นแร่ธาตุหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณเล็กน้อย    แร่ธาตุเหล่านี้บางชนิด ได้แก่ เหล็ก, ไอโอดีน, ซีลีเนียม, ฟลูออไรด์, โครเมียม, สังกะสี และทองแดง    แม้ว่า trace minerals จะมีปริมาณเล็กน้อยในร่างกาย   แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง   และความไม่สมดุลของ trace minerals สามารถทำให้เกิดความหายนะต่อสุขภาพของบุคคลได้    trace minerals กระตุ้นเอนไซม์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ทางชีวเคมี  และเป็นส่วนสำคัญของการทำงานโดยรวมของร่างกาย
         เป็นที่ทราบกันดีว่า  การขาด trace minerals  มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติหลายอย่างของระบบต่อมไร้ท่อ, หัวใจและหลอดเลือด, ทางเดินอาหาร, กล้ามเนื้อและกระดูก, ระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน     ไม่เพียงแต่การขาดแร่ธาตุนั้นๆเท่านั้น ที่อาจทำให้เกิดปัญหา   แต่ยังรวมถึงอัตราส่วนของแร่ธาตุหนึ่งๆ กับแร่ธาตุอื่นในร่างกายด้วย    อัตราส่วนที่สำคัญบางอย่างของแร่ธาตุในร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม/ฟอสฟอรัส (Ca/P), โซเดียมต่อโพแทสเซียม (Na/K), สังกะสีต่อทองแดง (Zn/Cu), โซเดียมต่อแมกนีเซียม (Na/Mg) และเหล็กต่อทองแดง (Fe /Cu)    ในบทความนี้   เราจะวิเคราะห์การทำงานของทั้งสังกะสีและทองแดง   และผลกระทบของความไม่สมดุลระหว่างแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้

 

สังกะสี (Zinc)

         สังกะสีถูกค้นพบว่าเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในปี 1869 สำหรับพืช,   ในปี 1934 สำหรับสัตว์   และในปี 1961 สำหรับมนุษย์     สังกะสีเป็น trace mineral ที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในร่างกาย  รองจากธาตุเหล็ก   และมีอยู่ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต    มีสังกะสีในร่างกายประมาณ 2-4 กรัม  ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง    ความเข้มข้นสูงสุดจะพบในดวงตาและต่อมลูกหมาก   โดยส่วนอื่นๆ ที่มีความเข้มข้นสูง  อยู่ในสมอง, กล้ามเนื้อ, ผิวหนัง, กระดูก, ไต และตับ    สังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในเมตาบอลิซึมของเซลล์  และจำเป็นสำหรับปฏิกิริยาของเอนไซม์มากกว่า 200 ปฏิกิริยาภายในร่างกาย     สังกะสีมีส่วนอย่างมากในการรักษาบาดแผล, การสังเคราะห์โปรตีน, การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และการแบ่งเซลล์   สนับสนุนการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามปกติในระหว่างตั้งครรภ์, วัยเด็ก และวัยรุ่น   และจำเป็นสำหรับความสามารถในการรับรส และกลิ่น    สังกะสียังเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสารต้านจุลชีพ, มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และสามารถช่วยในการป้องกันการแก่ก่อนวัยและเร่งกระบวนการสมานแผล 

         สัญญาณของการขาดธาตุสังกะสีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล   ขึ้นอยู่กับว่ามีการขาดธาตุสังกะสีแบบ absolute or relative       An absolute deficiency  คือเมื่อร่างกายมีความต้องการเพิ่มขึ้น, บริโภคไม่เพียงพอ  หรือการสูญเสียแร่ธาตุจากสิ่งต่างๆ เช่น ความเครียด, การเจ็บป่วย, ต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้น, การใช้ยา หรือการสะสมของโลหะหนัก     A relative deficiency  คือการที่สังกะสีหายไปจากบริเวณที่กักเก็บไว้เนื้อเยื่อ  เนื่องจากความไม่สมดุลกับ antagonistic mineral อื่น  เช่น ทองแดง หรือแคดเมียม     อาการขาดธาตุสังกะสีมักพบในผิวหนัง  และมีจุดสีขาวบนเล็บ
         การขาดธาตุสังกะสีเป็นเรื่องปกติในคนไข้ที่เป็นโรคผิวหนัง เช่น โรค lupus erythematosus (SLE), โรคสะเก็ดเงิน และโรคหนังแข็ง (scleroderma)    รอยแตกลาย  เป็นสัญญาณของการขาดธาตุสังกะสีและมีสังกะสีอยู่ในระดับต่ำ    อาจทำให้เกิดฝ้า, ผื่น และแผลหายช้า     โรคอื่นๆ ที่มักเกิดร่วมกับการมีสังกะสีอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ sickle cell anaemia (โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว), เบาหวาน, anorexia (โรคคลั่งผอม), ประจำเดือนมาไม่ปกติ, และการติดเชื้อซ้ำๆบ่อยๆ    การกักเก็บอินซูลินของร่างกาย  จำเป็นต้องมีระดับสังกะสีที่เพียงพอ    การสะสมของทองแดง  อาจเป็นสาเหตุของสังกะสีในระดับต่ำในปัญหาเรื่อง anorexia  และประจำเดือนมาไม่ปกติ    สังกะสีเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการรักษาระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, เอสโตรเจน และเทสโทสเตอโรน   ในขณะที่ทองแดงมีความเกี่ยวข้องกับเอสโตรเจน    ความไม่สมดุลในอัตราส่วนนี้  อาจเป็นสาเหตุโดยตรงของ PMS และความผิดปกติของประจำเดือนอื่นๆ 
         ระดับสังกะสีต่ำยังเกี่ยวข้องกับการรบกวนการนอนหลับและภาวะซึมเศร้า    สังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในการผลิตเมลาโทนิน (Sleep chemical) และเซโรโทนิน (Happy chemical) 

ทองแดง (Copper)

          ทองแดงเป็น trace mineral ที่จำเป็นต่อการทำงานของสารเคมี, เซลล์, และเอนไซม์ภายในร่างกาย    ทองแดงพบมากในสมองและตับ   โดยมีจุดสะสมอื่นๆ อยู่ในหัวใจ, ปอด, ไต, ตับอ่อน, กล้ามเนื้อ และกระดูก    ทองแดงมีบทบาทสำคัญในการขนส่งออกซิเจน, การทำงานของจิตใจและสมอง, ภูมิคุ้มกัน, การผลิตพลังงาน, การผลิตสารสื่อประสาท และการบำรุงรักษาเนื้อเยื่อกระดูกและเส้นประสาท     การขาดหรือมากเกินไปของทองแดง  จะขัดขวางการทำงานของปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่ขึ้นกับทองแดงในร่างกาย    ทองแดงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานของเอนไซม์ในเซลล์  และมีความสำคัญต่อโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์   รวมถึง cytochrome c oxidase, superoxide dismutase, dopamine B-hydroxylase, lysol oxidase, tyrosinase และ monoamine oxidase 

         ทองแดงที่มากเกินไปนั้นพบได้บ่อยกว่าการขาดทองแดง    พื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกสูง  มักจะมีระดับทองแดงสูง และสังกะสีต่ำ  ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก    น้ำดื่ม, ท่อน้ำที่มีส่วนประกอบของทองแดง, ทองแดงที่เติมลงในอาหารสัตว์ และยาฆ่าแมลงที่ฉีดพ่นบนผักและผลไม้   ล้วนเป็นวิธีที่ทองแดงสามารถเข้าไปในห่วงโซ่อาหารของเราได้     ทองแดงสามารถสะสมในร่างกายด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ metabolic activity ของแต่ละบุคคล    ยิ่งอัตราเมตาบอลิซึมยิ่งช้าเท่าใด   การกักเก็บทองแดงก็จะยิ่งสูงขึ้น    ทองแดงที่มากเกิน  ยังเชื่อมโยงกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่หมอจ่าย  และซีโนเอสโตรเจน    มีการศึกษาหลายครั้งที่พบว่า  การสะสมของทองแดงจะเพิ่มขึ้นตามการได้รับเอสโตรเจนเหล่านี้    เอสโตรเจนอาจมาจากยาเม็ดคุมกำเนิด, ฮอร์โมนทดแทน, ยาฆ่าแมลง, พลาสติก, ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม และยาปฏิชีวนะที่ให้กับสัตว์ที่เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของเรา
         เมื่อระดับทองแดงเพิ่มขึ้นภายในร่างกาย   เอสโตรเจนก็เพิ่มขึ้น   ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน  และมีส่วนทำให้เกิด PMS     เชื้อไวรัส, ยีสต์ และเชื้อรา ล้วนเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีทองแดงสูง    
         RDI ที่กำหนดไว้สำหรับทองแดงคือ 1-3 มก. ต่อวัน    อาหารที่มีทองแดงสูง ได้แก่ ตับวัว, เมล็ดทานตะวัน, ถั่วเลนทิล, อัลมอนด์, ช็อคโกแลต, หน่อไม้ฝรั่ง, อะโวคาโด และเห็ด     ผู้ทานมังสวิรัติจำนวนมาก  สามารถได้รับระดับพิษของทองแดงจากการรับประทานอาหารที่มีทองแดงสูงในปริมาณมาก  ซึ่งปกติแล้วเป็นอาหารที่ผู้ทานมังสวิรัติรับประทาน   และการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณสังกะสีสูงเพื่อชดเชยทองแดง   

ความวิตกกังวลหรืออาการก่อนมีประจำเดือนของคุณ  เกิดจากอัตราส่วนทองแดงต่อสังกะสีสูงหรือไม่?

         ทองแดงและสังกะสี  เป็นแร่ธาตุสำคัญ 2 ชนิดในร่างกายของเรา   และจำเป็นสำหรับการทำงานและกระบวนการที่หลากหลาย    การขาดธาตุสังกะสี (Zn) และทองแดง (Cu) ที่มากเกินไป เป็นสถานการณ์ทางคลินิกที่พบได้ทั่วไป   ทำให้อัตราส่วนทองแดงต่อสังกะสีสูง    
         อัตราส่วนทองแดงต่อสังกะสี (Cu/Zn) สูง   อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากมาย เช่น การเจริญเติบโตและความผิดปกติทางจิต, สุขภาพเสื่อม ตามวัยที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่โอกาสในการเกิดมะเร็ง และเพิ่มความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidative stress)  และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด 
ทั้งทองแดง (Cu) และสังกะสี (Zn) เป็นปฏิปักษ์ (antagonistic) ซึ่งกันและกัน หมายความว่ายิ่งธาตุใดธาตุหนึ่งมีมากในร่างกาย อีกธาตุหนึ่งก็จะยิ่งมีน้อย

ทองแดงที่มากเกินไป

         ทองแดง (Cu)มากเกินไป  พบได้บ่อยกว่าการขาด Cu     ที่ดินที่ใช้ทำการเกษตร  มักจะมี Cu สูง และ Zn ต่ำใน Zn    ท่อน้ำ, น้ำดื่มปนเปื้อน, ยาฆ่าแมลงตกค้าง และ Cu ที่เติมลงในอาหารสัตว์  เป็นการที่ทำให้เราได้รับ Cu เข้าสู่ร่างกายมากขึ้น  ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป  จะทำให้ระดับแร่ธาตุตัวนี้เพิ่มขึ้นในร่างกาย

         ในทางกลับกัน    คาดว่าจะมีประชากรมากกว่า 50% ที่ขาด Zn  แม้ว่าจะมีอยู่ในอาหารหลายชนิดก็ตาม    อีกครั้ง   วิธีการทำฟาร์มที่ไม่ดีและอาหารคุณภาพต่ำ, สารอาหารที่ไม่สมดุล ที่มี Cu สูง, กรดในกระเพาะอาหารน้อย ซึ่งลดการดูดซึมของ Zn   และกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย ที่ใช้ Zn ที่เก็บสะสมไว้ในร่างกายจนหมด   ล้วนเป็นสาเหตุทั่วไปที่พวกเราหลายคนขาด Zn
         สัญญาณทางกายภาพ ที่แสดงว่าเรามี Zn ต่ำ ได้แก่ บาดแผลที่หายช้า, ผิวแห้งและคุณภาพผิไม่ดี, จุดสีขาวบนเล็บ, การรับกลิ่นและรสไม่ดี และการทนเสียงดังไม่ได้

 

อาการของทองแดงสูงและสังกะสีต่ำ

• ความวิตกกังวล ตื่นตระหนก ความตึงเครียดภายในทั่วไป

• สิ้นหวังและซึมเศร้า
• ความเหนื่อยล้า
• อาการของ Hypothyroid (มือเท้าเย็น สมองมีหมอก ผิวแห้ง)
• อ่อนไหวง่าย, ย้ำคิดย้ำทำ
• นอนไม่หลับ, หลับสนิทไม่ต่อเนื่อง
• PMS (อาการก่อนมีรอบเดือน)
• น้ำตาลในเลือดผันผวนทำให้เกิดความอยากอาหาร
• อารมณ์แปรปรวน หวาดระแวง
• อาการท้องผูก
• หัวใจเต้นแรง / ใจสั่น
• อาการไม่พึงประสงค์จากวิตามินและแร่ธาตุ (เนื่องจากทองแดงมากไป จากอาหารเสริม )
• สมาธิสั้น / ความรู้สึกว่างเปล่า
• ความผิดปกติของการกิน (อาการเบื่ออาหาร, บูลิเมีย, การกินมากเกินไป)
• การติดเชื้อรา (candida and fungus)
• ตะคริวและปวดเมื่อยตามร่างกาย 

อาการ/สภาวะที่เกี่ยวข้องกับอัตราส่วนของทองแดงต่อสังกะสีสูง

         ทองแดงที่มากเกิน  มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมหลายอย่าง    มันสามารถนำไปสู่อาการซึมเศร้า, อาการตื่นตระหนก, ความวิตกกังวล, ความกลัว, ความโกรธมากเกินไป และโรคจิตเภท

         ภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีทองแดงมากเกินไป ได้แก่ อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS), นิ่วในถุงน้ำดี, การติดเชื้อไวรัส, โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis), ยีสต์และเชื้อรามีการเจริญเติบโตมากเกินไปในร่างกาย    การติดเชื้อไวรัส, ยีสต์ และเชื้อรา  สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มี Cu สูง และ Zn ต่ำ    การติดเชื้อไวรัส ทำให้เมตาบอลิซึมของเราลดลง  ซึ่งส่งเสริมการกักเก็บทองแดงในร่างกาย
         ระดับสังกะสีต่ำ  เกี่ยวข้องกับการนอนไม่หลับ, ภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติทางอารมณ์อื่นๆ    สังกะสีเป็นสิ่งจำเป็นทั้งในการผลิตเมลาโทนินและเซโรโทนิน    หากไม่มีสังกะสีเพียงพอ   เราจะไม่สามารถสร้างระดับที่เพียงพอสำหรับการนอนหลับพักผ่อนและอารมณ์ที่มั่นคงอย่างสมดุล    สังกะสีในระดับต่ำ  ยังสัมพันธ์กับสภาพผิวที่ผิดปกติต่างๆ, sickle cell anaemia (โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว), เบาหวาน และanorexia (โรคคลั่งผอม)
         ในความสัมพันธ์กับ PMS    เมื่อระดับทองแดงเพิ่มขึ้นภายในร่างกาย   เอสโตรเจนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน    สังกะสีในระดับต่ำ  ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, เทสโทสเตอโรน และสารประกอบเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจาก Cu สูง
         Pyrrole disorder (เกิดจากความเครียดที่ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด)   เป็นภาวะทั่วไปที่เน้นถึงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ดังที่ระบุไว้ข้างต้น    Pyrrole disorder   ทำให้เกิดการขาดทั้ง Zn และ B6 ซึ่งเป็นวิตามินอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมสารสื่อประสาท    ผู้ป่วยโรค Pyrrole disorder มักมี Cu มากเกินไป  และต้องการการเสริม Zn และ B6 อย่างต่อเนื่อง    ประมาณว่าเด็กอย่างน้อย 10% มีโรค Pyrrole disorder และประชากรสูงถึง 30-40% ป่วยเป็นโรคทางจิต

 

การศึกษา – ความผิดปกติทางพฤติกรรมในเด็ก

         มีการศึกษาจำนวนหนึ่ง  ทำในเด็กที่มีระดับ Cu สูง  กับอารมณ์, ความสนใจ และความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก    งานวิจัยชิ้นหนึ่งมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเด็กเล็ก 49 คนที่มีอายุเฉลี่ย 10 ปี

         การศึกษาพบว่า  เด็กทั้งหมดที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมก้าวร้าว  มีอัตราส่วน Cu/Zn สูง  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมของเด็กวัยเดียวกันที่ไม่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม 
การศึกษายังพบว่า เด็กที่มีรูปแบบพฤติกรรมรุนแรงและก่อกวนมากที่สุด มีอัตราส่วน Cu/Zn สูงที่สุดในกลุ่ม
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาผลลัพธ์ 4 แบบแยกกัน โดยให้การบำบัดด้วยสารอาหารแก่เด็กที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม การบำบัดด้วยสารอาหารทางชีวเคมี มุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูสมดุลทางโภชนาการด้วยวิตามิน, เกลือแร่ และกรดอะมิโน เช่น สังกะสี, วิตามิน B6, แมกนีเซียม, เมไทโอนีน และวิตามินซีและอี
จากการศึกษาผลลัพธ์ทั้ง 4 พบว่า จากผู้เข้าร่วม 207 คน 88% รายงานว่า พฤติกรรมทำลายล้างมีความถี่ลดลง และ 53% ของผู้เข้าร่วมเหล่านี้ ได้ขจัดพฤติกรรมทำลายล้างลงโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ พบว่า อัตราส่วน Cu/Zn สูง เชื่อมโยงกับการสะสมของโลหะหนัก และพบว่าเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่เป็นไปได้ ในผู้ที่มีความผิดปกติของออทิสติกสเปกตรัม เมื่อระดับสังกะสีลดลง โลหะหนักจะสะสมในสมองและร่างกายมากขึ้น ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลากหลาย

การศึกษา – โรคที่เกิดในช่วงสูงวัยและโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย

         การศึกษาได้ดำเนินการกับผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 90 ปี ที่มีสุขภาพดี 81 คน  และ 62 คนที่ไม่ค่อยสบายจากผลกระทบจากโรคความเสื่อมเรื้อรัง    มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของอัตราส่วนของ Cu/Zn ที่สูงต่อความชรา โรคความเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุมาก   โดยการวัดปริมาณทองแดงและสังกะสีในเลือด   พบว่า  อัตราส่วน Cu/Zn ในซีรัมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความเสื่อมเรื้อรัง  มากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีโรค

         การศึกษาสรุปว่า  มีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง  ระหว่างทองแดงและสังกะสี  กับ the systemic oxidation และความแก่ชราของร่างกาย    นอกจากนี้ยังแนะนำว่า  อัตราส่วน Cu/Zn ที่สูง  จะเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์สำหรับบ่งชี้สุขภาพที่ไม่ดีในผู้สูงอายุ 
         การศึกษาอื่น  ยังได้วัดอัตราส่วน Cu/Zn ในพลาสมา  และวัด inflammatory markers ต่างๆ ของคน 498 คน ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 60 ปี 
         สุขภาพที่ลดลงตามอายุ  ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะเกิดจากการที่ระดับ Zn ในพลาสมาลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป    การศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของระดับสังกะสีในร่างกาย  และผลเสียต่อสุขภาพ  เมื่ออัตราส่วน Cu/Zn สูง 
         บทบาทของทั้งสังกะสีและทองแดงมีความสำคัญสูงสุด    สังกะสีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง, ระบบสืบพันธุ์, การเจริญเติบโต  และพัฒนาการตามปกติ   และหน้าที่อื่นๆ มากมาย    นอกจากนี้  ยังเป็นแร่ธาตุสำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมน  และเป็น a copper antagonist
         ทองแดง  จำเป็นสำหรับระบบประสาท, กระดูก, ข้อต่อ, ผิวหนัง, หลอดเลือด, การควบคุมอารมณ์ และการสร้างเปลือกไมอีลิน (myelin sheath formation)    เมื่อระดับสูงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังกะสีอยู่ในระดับต่ำ จะสังเกตผลที่เป็นพิษต่อร่างกายได้
         สังกะสีมักจะต่ำเมื่อทองแดงสูง  เนื่องจากทองแดงมีผลเป็น a strong antagonistic effect ต่อสังกะสี    ความไม่สมดุลนี้ดูเหมือนจะมีบทบาทในโรคทางจิตหลายอย่าง เช่น โรคจิตเภท, ความวิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, ADD   ตลอดจนโรคความเสื่อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidative stress)   รวมทั้งความชราและโรคหลอดเลือดหัวใจ
         การก่อตัวของมะเร็ง  สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่ทำการศึกษา  ที่มีอัตราส่วน Cu/Zn สูง   ซึ่งบ่งบอกถึงการก่อกวนของออกซิเดชันและทางชีวเคมีที่เกิดจาก Cu/Zn สูงในร่างกาย 

Functional Testing

         หากอาการข้างต้นบางอย่างสะท้อนถึงตัวคุณ หรือสมาชิกในครอบครัว   คุณควรตรวจระดับ Cu และ Zn     ผลการตรวจในเลือดที่ถือว่าอยู่ในระดับปกตินั้นไม่เพียงพอ   เพราะจะต้องคำนวณปริมาณ Cu ที่สัมพันธ์กับสังกะสี และเซรูโลพลาสมินด้วย    ควรทดสอบ Ceruloplasmin ซึ่งเป็นโปรตีนขนส่งทองแดง  พร้อมกับระดับ Cu และ Zn ในเลือด  เพื่อคำนวณปริมาณ unbound copper ในระบบ

         สามารถใช้การสแกนด้วยสเปกโตรเมตรี   เพื่อช่วยในการให้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของแร่ธาตุ  และภาพในระยะยาว   เนื่องจากระดับแร่ธาตุในเลือดจะเป็นสิ่งที่คงอยู่เพียงชั่วคราว   จึงเป็นการดีที่จะทำงานร่วมกับผู้ปฏิบัติงานที่เข้าใจความไม่สมดุลนี้   รู้รายละเอียดเกี่ยวกับโรคของทองแดงที่มากเกินไป และผลที่ตามมา